fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#CULTURE – Art or Sin : คุยกับดีไซเนอร์ถึงกรณี Louis Vuitton กับ Michael Jackson F/W 19 คอลเล็กชั่นที่ช่างเปราะบางเหลือเกิน
date : 5.เมษายน.2019 tag :

การเปิดเผยชีวิตอีกด้านของ ไมเคิล แจ็คสัน (Mochael Jackson) ในหนังสารดีเรื่อง Leaving Neverland ที่ฉายทางช่อง HBO เมื่อเร็วๆ นี้ ไม่เพียงทำให้หลายคนเกิดความสั่นคลอนทางศรัทธาต่อตัวศิลปินไอคอนของพวกเขา เมื่อหนังขุดคุ้ยมุมมืดของราชาเพลงป๊อปดังที่ปรากฏเป็นข่าวพาดหัวเมื่อนานมาแล้วว่าเขาเคยล่วงละเมิดทางเพศเด็กชาย 2 คน ซึ่งโตเป็นหนุ่มแล้วและได้เปิดเผยถึงความเจ็บปวดในอดีตของพวกเขาในหนังสารดีความยาวกว่า 2 ตอน 4 ชั่วโมงเรื่องนี้

ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่หนังเรื่อง Leaving Neverland จะฉายเพียง 1 สัปดาห์ Louis Vuitton ออกคอลเล็กชั่นเมนส์แวร์ F/ W 2019 โดยปั้นคอลเล็กชั่นนี้ให้เป็นการทริบิวต์แด่ราชาไมเคิล แจ็คสัน ด้วยเสื้อผ้าและสารพัดสิ่งที่บันดาลใจมาจากชุดซึ่งแจ็คสันเคยใส่ปรากฏตัวในมิวสิควีดีโอยุคเฟื่องฟูของเขา พร้อมกับเนรมิตโชว์ให้ออกมาราวกับบรรยากาศเหมือนในเอ็มวีเพลง Billie Jean ของไมเคิล แจ็คสันด้วย

แต่ท่ามกลางความไฮป์และเสียงชื่มชมของความคิดสร้างสรรค์ไม่มีใครเกินของทั้งโชว์และคอลเล็กชั่นนี้ กระแสวิจารณ์ในด้านลบก็เกิดขึ้นหลังจากหนังออกฉาย บ้างก็บอกว่าไมเคิล แจ็คสันไม่สมควรเป็นไอคอนของใครอีกต่อไป บ้างก็บอกว่าประเด็นนี้มันเปราะบางเกินไป แบรนด์ควรกลับไปคิดใหม่อีกรอบ

ในฐานะครีเอทีฟ ดีไซเนอร์ Virgil Abloh ออกมายอมรับว่าฟีดแบ็กของหนังสารคดีเรื่องนี้จะส่งผลต่อคอลเล็กชั่นของเขาไม่น้อย เขาตระหนักดีว่าความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ แต่ความตั้งใจของการทำคอลเล็กชั่นและโชว์นี้ขึ้นมาก็เพียงเพื่อทริบิวต์ไมเคิล แจ็คสันในมุมที่เขาเป็นป๊อปคัลเจอร์ ในมุมมองเดียวกันกับที่คนทั่วโลกรู้จักเขาจากผลงานดนตรีอันยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งก็เท่านั้นเอง และสิ่งนั้นมันก็ยังมีอิทธิพลต่องานของทั้งศิลปินและดีไซเนอร์รุ่นหลังต่อมาอย่างปฏิเสธไม่ได้ไม่ใช่หรือ

นี่อาจไม่ต่างกับตอนกรณีล่วงละเมิดทางเพศที่เคยเกิดขึ้นกับคนดัง Hollywood มากมายหลายคน จนเดือดไปทั่วทั้งวงการเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้เราเกิดคำถามไม่ต่างจากตอนนั้นที่ว่า การผลิตงานซึ่งอินสไปร์มาจากศิลปินผู้มีความผิดติดตัวจะสามารถทำได้มั้ย แล้วมันจะกลายเป็นศิลปะบนความผิดบาปหรือไม่

เราถาม คุณโม่ – ภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์ ในฐานะดีไซเนอร์แห่งแบรนด์ Painkiller ถึงความเห็นของคนผลิตงานอย่างเขาต่อประเด็นนี้

ภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์

คุณมองเรื่องนี้ยังไง | คิดว่าเจตนาของดีไซเนอร์เพียงต้องการทริบิวต์ให้กับศิลปินผ่านงานออกแบบเสื้อผ้า ให้คนจดจำไมเคิลด้านความความสามารถและความเป็นสไตล์ไอคอนของเขา

เราสามารถนำแรงบัลดาลใจจากคนที่มีความผิดมาใช้ผลิตงานได้มั้ย | สามารถทำได้ แต่ควรทำเพื่อยกระดับจิตใจหรือส่งเสริมให้เกิดความดีงาม เตือนใจ หรือเป็นบทเรียน แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการสื่อสารและการตีความมาเป็นงานออกแบบ ต้องคิดให้ละเอียดรอบคอบ เรื่องแบบนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อน คนทำงานแฟชั่นต้องรู้ว่าผลงานของคุณเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สวมใส่ได้

เราจะแยกแยะศิลปะออกจากตัวบุคคลได้มั้ย | ต้องเรียกว่าควรแยกเรื่องผลงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันจะดีกว่า เพราะเหรียญมีสองด้านเสมอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความใจกว้างของผู้มองด้วยครับ

ถ้าเกิดกรณีนี้ขึ้นกับ Painkiller บ้าง จะมีวิธีการรับมือยังไง |  แล้วคุณเห็นด้วยมั้ยกับการที่ LV ตัดสินใจถอดบางชิ้นที่อินไปร์จากไมเคิลออก งดการโปรโมตแคมเปญ หรืออย่างบางสถานีวิทยุก็แบนเพลงไปเลย |

ก็คงทำแบบเดียวกันครับ ยกเลิกการขายสินค้า แต่คงจะนำสินค้าทั้งหมดมาปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมดีไซน์ใหม่เข้าไปให้สื่อความหมายไปในทางบวก เพราะไม่อยากให้สินค้าทั้งหมดกลายเป็นขยะที่ต้องทิ้งหรือทำลายไป เพราะกว่าจะผลิตสินค้าออกมาได้ต้องใช้เวลาและกำลังคนผลิตไปพอสมควร

โดยส่วนตัว เห็นด้วยกับ LV ที่ยกเลิกการขาย แต่ไม่เห็นด้วยกับการแบนเพลงของไมเคิล เพราะจุดประสงค์เดิมของเพลงที่ผ่านมาคือการสร้างความสุขให้กับผู้ฟังครับ

RECOMMENDED CONTENT

31.สิงหาคม.2017

ผ่านไปแล้วหมาดๆ กับรอบ Wolrd Premeire ใน section 'Venice Days' ของเทศกาล Venice Film Festival กับภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง – 'Samui Song – ไม่มีสมุยสำหรับเธอ' หลังจากห่างหายงานกำกับภาพยนตร์ไปอย่างยาวนาน