ปัญหาเด็กติดเกมส์ เด็กติด Internet คงเป็นเรื่องที่คนสมัยก่อนอาจจะฟังดูแล้วขำๆ แต่สำหรับเด็กยุคนี้ (และพ่อแม่ด้วยล่ะ) นี่คือวาระแห่งชาติที่พวกเขากำลังเผชิญหนักสุดๆตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ที่ประเทศจีนตอนนี้ “Qide Education Center” ค่ายฝึกเด็กติดเกมส์ (Boot Camp) สุดโหดสไตล์ทหารกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก จากตัวเลขล่าสุดตอนนี้แตกสาขามีสำนักทั่วผืนแผ่นดินไต้หล้าไปเป็นกว่า 250 แห่งเรียบร้อยแล้ว! (เยอะมากนะ ถ้านับว่าเป็นแคมป์เพื่อเด็กติดเกมส์โดยเฉพาะ)
หน้าที่หลักๆของค่ายเหล่านี้ก็คือ การบำบัดและระงับอาการหิวเกมส์ของเด็กๆ ส่วนใหญ่การฝึกจะรวมเด็กชายเด็กหญิงติดเกมส์เอาไว้ด้วยกัน ทีมข่าว Reuters พูดคุยกับเด็กจีนคนนึง เขาเล่าว่า เขาประสบกับความเครียดที่พ่อแม่ตั้งเป้าไว้ หลังจากเมืองจีนเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประชากรท่ีแน่นขนัดต่างก็ต้องแข่งขันกัน เด็กหลายคนถูกบังคับให้เรียนพิเศษอยู่บ้าน เมื่อไม่ได้ออกไปเล่นกับเพื่อน ทางออกเดียวคือต้องหันมามีเพื่อนเป็นเกมส์ออนไลน์ น่าตกใจตรงที่รายนี้สารภาพว่าเคยเล่นเกมส์ติดต่อกันสามวัน Non-Stop แบบไม่มีการพัก! (นอนชั่วโมงเดียวครับท่าน) เอาล่ะ ได้ยินแบบนี้แล้ว มีเกมเมอร์บ้านเราคนไหนอยากทำลายสถิติกินเกมส์แทนข้าวแบบนี้กันบ้าง!? การฝึกของแคมป์เหล่านี้ก็จะคล้ายกับค่ายทหาร มีการทำโทษยึดพื้นตามที่เห็นในรูป (ตามภาพเลย) เคยมีเคสหนึ่ง เด็กอายุ 15 ถึงกับเสียชีวิตเลยก็มี หลังจากโดนเปลี่ยนนิสัยไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็รับไม่ไหวเลย ใครอยากรู้เรื่องราวเพิ่มเติมค่ายพวกนี้ ก็ลองเสิชสารคดีเรื่อง “Web Junkies” ดูได้
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ปัญหานี้ดูทีท่าว่าจะไม่จบลงง่ายๆ พ่อแม่หลายคนในเมืองจีนตอนนี้กำลังทยอยส่งลูกเข้าฝึกโหด มัน ฮา ตามๆกัน ซึ่งหลายคนมองว่ามันอาจจะเป็นแก้ปัญหาที่ผิดจุด ในสเกลระดับโลกนอกจากเมืองจีน เมื่อไม่กี่ปีก่อนญี่ปุ่นเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ แล้วก็เริ่มมีมาตรการจัดการเกิดขึ้นเหมือนกัน หรือพูดๆไปเมืองไทยเราเอง ภาพเด็กเถียงแม่ ขอตังค์ วิ่งเข้าร้านเกมส์ Internet Cafe’ ยังคงมีให้เห็นอยู่เสมอๆ (บางคนสิงสถิตข้ามวัยจากเด็กไปชายฉกรรจ์เลยก็คงเคยเห็นกัน) นี่อาจจะเป็นสัญญาณว่า เราต้องเริ่มหันมาใส่ใจกับเรื่องนี้กันให้มากขึ้นเหมือนกันรึเปล่า? แต่หวังว่าคงไม่ใช่ค่ายสุดโหดแบบนี้นะ เพราะสิ่งที่เด็กต้องการมาที่สุดก็คือพ่อแม่ของพวกเขานั่นล่ะ…
Image By : Reuters
RECOMMENDED CONTENT
‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย