fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#CULTURE — ‘SneakerSutra’ ; กราฟิกกามสูตรยุคใหม่ ใส่ใจ Sneaker Culture
date : 19.เมษายน.2018 tag :

ความสนุก ความเซ็กซี่ และความยียวน มักจะถูกนักออกแบบนำเอามาจับเข้าคู่ผสมผสานกันบ่อยๆ เช่นกันกับผลงานภาพประกอบแนวกราฟิกชุด ‘SneakerSutra‘ ของนักวาดภาพประกอบชาวลอนดอน Andrea Locci

ด้วยความที่แอนเดรียนั้นเป็น sneaker-head อยู่แล้ว เธอเลยนึกสนุกเอาวัฒนธรรมชาวสนี้กเกอร์มาเล่นสนุก เธอมองว่า รองเท้าสนี้กเกอร์ที่แต่ละคนเลือกสวมใส่นั้น ไม่ต่างอะไรกับขนหางที่นกยูงใช้รำแพนเพื่อเรียกหาคู่ของมัน เช่นกัน ผู้คนต่างเลือกรองเท้าสนี้กเกอร์เพื่อบ่งบอกบุคลิกและตัวตน และดึงดูดพวกเดียวกันเข้ามา

ภาพประกอบของแอนเดรียจึงเลือกเอาหนุ่มสาวที่สวมใส่สนี้กเกอร์รุ่นต่างๆ มาจับคู่พวกเดียวกัน แล้วก็ใส่ความกามสูตรเข้าไป บวกกันสีสันสดใสตามอย่างป็อบคัลเจอร์ ภาพที่ได้จึงออกมาน่ารักน่าหยิกเสียเหลือเกิน

“ผู้คนมักจะรู้สึกปลอดภัยและสบายใจเสมอ เมื่อพวกเขาสวมใส่สนี้กเกอร์คู่ที่ถูกใจ และนั่นก็เลยทำให้พวกเขาปลดปล่อยตัวเองได้อย่างอิสระ เช่นกันกับเครื่องแต่งกายอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่เป็นเครื่องบ่งบอกตัวตน แต่เป็นได้ดังป้ายโฆษณาส่วนตัวของพวกเขา”

“พวกเรารายล้อมไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่พูดถึงเรื่องเซ็กส์กันเป็นเรื่องปกติ รายการโทรทัศน์ โฆษณาแฟชั่น โพสในอินสตาแกรม หรือแม้แต่ชีวิตปกติของพวกเราเอง “

โปรเจ็กต์นี้ แอนเดรียไม่ได้ตั้งใจทำเล่นๆ แต่เธอตั้งใจจะเก็บเกี่ยวดึงเอา Sneaker Culture มาวาดภาพให้ครบ 69 ภาพ! (อะแฮ่ม! คงเข้าใจนะว่าทำไมต้องจำนวนเท่านี้) เพื่อนำไปทำเป็น SneakerSutra Book ต่อไป

ความสนุกที่พวกคุณจะได้รับก็คือ การได้สำรวจวัฒนธรรมสนี้กเกอร์ รุ่นไหนดี รุ่นไหนเด็ด และรุ่นไหนกลายเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม Gen Z กันบ้าง ในขณะเดียวกัน คุณก็อาจจะได้ท่วงท่าดีๆ ไปจนถึงสถานที่ใหม่ๆ สำหรับการ xxxxx ครั้งต่อไปก็ได้!

RECOMMENDED CONTENT

17.มกราคม.2020

“People on Sunday” (2562) เป็นการตีความ บทสนทนาโต้ตอบ และสาส์นแสดงความนับถือต่อภาพยนตร์บุกเบิกจากประเทศเยอรมันเรื่อง “Menshen Am Sonntag” (2473) หรือ “ผู้คนในวันอาทิตย์” ผลงาน “People on Sunday” (2562) ได้นำภาพยนตร์ต้นฉบับดังกล่าวกลับมาตีความใหม่ผ่านบริบทที่แตกต่างจากเดิม ทั้งยุคสมัย ภูมิประเทศ ตลอดจนสภาพในการทำงาน