fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#Visit : “Kanitta Meechubot” จาก Solo Exhibition ที่อังกฤษสู่มุมมองของบทบาทอาจารย์ในประเทศไทย
date : 8.มกราคม.2015 tag :

คอลัมน์ Dooddot Visit ในสัปดาห์ขึ้นปีใหม่แบบนี้ เรามาเติมแรงบันดาลใจใหม่ๆกันไปพร้อมกับ Kanitta Meechubot (คณิตา มีชูบท) นักวาดภาพประกอบชาวไทย ที่ถึงแม้ตอนนี้หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยขึ้นชื่อของเธอเท่าไรนัก แต่ควรรู้จักเธอไว้ตั้งแต่วันนี้เลย เพราะเธอคืออีกหนึ่งคนศิลปะไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงถึงเกาะอังกฤษ กับการมี Solo Exhibition เป็นของตัวเองที่นั่น รวมไปถึงยังมี Exhibition แสดงร่วมกับนักวาดภาพประกอบและศิลปินชาวอังกฤษระดับชื่อดังคนอื่นๆอีกมากมาย จนถึงตอนนี้เธอตัดสินใจกลับมาเพื่อนำเอาแนวคิดที่พบเจอในโลกตะวันตก มาบอกต่อถึงนักออกแบบรุ่นใหม่ในบทบาทอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งเราเชื่อว่าคอลัมน์ Dooddot Visit ของเราครั้งนี้จะต้องมีเนื้อหาที่นักวาดภาพประกอบน้อยใหญ่ทั้งหลายถูกใจแน่ๆ เรานัดพูดคุยกับเธอที่สตูดิโอ “ชาม-เริญ” สตูดิโอย่านเสาชิงช้าที่เธอมักจะแวะเวียนมาอยู่บ่อยๆ

Exhibition ที่อังกฤษของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ถ้าเป็นที่ Solo Exhibition ของเราจริงๆ ส่วนใหญ่ต่างประเทศ  มันคือเราต้องเป็นคน Purpose เข้าไปเอง ว่าเรามีชุดผลงานอยากนำเสนอและจัดแสดง ก่อนอื่นก็ไปดูตามแกลลอรี่ต่างๆ ดูแนวงานที่เขาจัดแสดงว่าเหมาะสมกับงานเราแค่ไหน ดูว่าเขามี Potential ที่จะทำให้งานของเราออกมาดูดีได้แค่ไหน แล้วก็เขียน Proposal เข้าไปว่าเรามีงานแบบนี้ คอนเซปต์แบบนี้นะ สนใจมั้ยที่จะจัดแสดง? ก็มีที่ The Book Club ใน London ที่เขาสนใจมากในที่แรก ก็ถือเป็น Solo Exhibition ที่แรกเลย ก็สนุกดีค่ะ เปิดการเปิด Audience ให้กับงานเรามากขึ้น

null

null

ผลงานชุด “Garden of Illuminating Existence” (2011) ที่ได้ตีพิมพ์และจัดแสดงกับนิตยสาร Granta Magazine : 117 (Horrror Issue)

null

ผลงานชุด “Season of the Soul” (2011)

ผลงานที่จัดแสดงเราพูดถึงอะไร?

ผลงานชุดนั้นชื่อว่า The landscape of a mind ค่ะ เราเป็นคนที่สนใจเกี่ยวกับ Anatomy ร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว แล้วก็ชอบเรื่องของชีวิต ความทรงจำ ครอบครัว ความรัก ก็เป็นผลงานชุดต่อจากซี่รีย์แรก “A Garden of Illuminating Existence” แล้วก็ซีรี่ส์ที่สองคือ “Season of the Soul”   ชี่รีย์ที่สามคือ “The Landscape of a Mind” งานจะเป็นการจินตนาการว่าเวลาคนรักหรือคนที่ตายแล้ว จากกันเขาไปพบกันอีกที่ไหน เรา Create Scene ขึ้นมาโดยใช้ร่างกาย อวัยวะที่มีลักษณะโดดเด่น อย่างเช่นหัวใจ สมอง ดึงมาใช้ในงาน รูปที่ใช้ก็เป็นรูปคุณปู่คุณย่าของเราจริงๆเลย มันจะมีความ personal มาก นำเสนอมีทั้งฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ อะไม่ใช่สิ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน เอ่อ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว แทนการพัฒนาของ Relationship อย่างเช่น ตอนช่วงหน้าร้อนก็ความรักสุขงอมได้พบเจอกัน แต่งงานกัน พอฤดูใบไม้ร่วงก็เหมือนมีโรคภัย โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเยือน ฤดูหนาวมีความตายเข้ามาเยือน

ผลตอบรับ?

ดีนะคะ เพราะว่าได้งานหลังจากนั้นด้วย เราคิดว่าจริงๆแล้ว Exhibition มันสำคัญที่ว่าเราเชิญใคร คืออยู่ดีๆไม่ใช่ว่าเรียนจบ แล้วก็มี Exhibition เลย  มันต้องมีการสร้างฐาน Connection ก่อน มันต้องเป็น Timing ที่เราวางแผนเอาไว้  พอเรารู้จักพวกอาร์ตไดเร็กเตอร์ รู้จักพวก Editor ของหนังสือ ถึงเวลาที่เรามี Exhibition เราก็เชิญเขามา เพื่อที่จะให้เขาได้เห็นงานจริงของเรา คนที่เราเชิญมาสำคัญมาก เพราะถ้าคนที่เค้าควรเห็นงานเราแต่เค้าดันไม่ได้เห็นงานเรา มันก็ไม่มีประโยชน์นะ

แล้ว Movement ของเราที่ต่างประเทศ?

ค่ะ ก็จะมีเป็นจัดแสดงร่วมกับคนอื่น อย่างงานนี้คือ (เปิดหนังสือ) ทาง Association of Illustrators (AOI) เป็นเหมือนสมาคมนักวาดภาพประกอบของอังกฤษ ในปี 2012 เราได้รับคัดเลือกลงหนังสือแล้วก็มี Exhibition ของโครงการนี้ออนทัวร์ไปทั่ว UK เลย จัดตาม 5 มหาวิทยาลัยในหัวเมือง แล้วก็มีอีกงานหนึ่งคือ อันนี้เป็นตอนจบใหม่ ด้วยความที่ผลงานมันเข้าตาเขามาก ทาง “Granta” เป็นนิตยสารเก่าแก่ เค้าก็มาขอเอางานของเรา ซื้อไปลงในส่วน Art&Design ของเค้า แล้วก็มี Exhibition จัดต่อจากนั้น พอดีว่าเล่มนั้นมี Chapman Brothers ทำหน้าปกให้ ซึ่ง Chapman Brothers นี่คือศิลปินระดับโลก เค้ามีผลงานทั่วโลกเลย แต่ตัวเราเองตอนนั้นเราไม่ได้รู้จักเค้าเลยด้วยซ้ำไป (หัวเราะ) ก็ได้ Exhibition ร่วมกับเค้า ได้ไป Talk ได้ไปบรรยายอะไรร่วมกับเค้าค่ะ

null

ผลงานชื่อดังชุด “The Sum of all Evil (2012-2013)” ของศิลปิน  Jake and Dinos Chapman หรือ Chapman Brothers

แล้วเราจะยืนระยะได้อย่างไร ?

ต้องทำงานแบบไม่มีวันหยุดอะค่ะ มันเหนื่อยเลยนะ เพราะหยุดเมื่อไหร่ก็ถูกลืม คือถ้าคุณอยากจะเป็น Artist ที่มีคนรู้จักหรือ Establish ตัวเองได้ประมาณหนึ่ง เราว่าต้องมีอย่างต่ำ 5-10 ปีนะการจะเป็น Artist กันจริงๆที่นั่น เรียกว่าต้องไม่ขาดเลย ต้องมี Movement  ตลอดเวลา เพราะทุกคนเข้าไปในลอนดอนเพื่อจะตามหาฝัน ทุกคนมีฝันกันหมด หลังๆมันเลยเริ่มมีปัญหาอย่างนึง ว่าพวกสำนักพิมพ์พวกอะไรอย่างนี้เค้าก็เริ่มจะ Take Advantage กับศิลปินหรือคนทำงาน คือ ให้ทำงานฟรีแบบประมาณว่าเนี่ย “เป็นพอร์ทที่ดีนะ” “เธอได้ตีพิมพ์จริงนะ” แต่เค้าไม่มีงบจ้างนักวาดภาพประกอบ เราเองก็เคยทำให้ฟรีนะ ตอนจบใหม่ก็ไฟแรง พอเริ่มมีตีพิมพ์ออกมาซักระยะนึงก็จะเริ่มรู้สึกว่าไม่เอาแล้วนะงานฟรี มันเหนื่อยแล้วก็ไม่ได้อะไร เพราะเราต้องกินต้องอยู่ เราทำอย่างนี้ตลอดเวลาไม่ได้

เทียบกับบ้านเรา?

เรารู้สึกว่าพอกลับมาที่นี่ เค้าเน้น… เค้าเน้นตัวคนมากกว่าผลงานกัน คือที่นู่นเราจำได้ว่าขนาดคนที่เป็นศิลปินดังๆ ตอนที่เราไปงานเค้า เค้าจะดูแบบธรรมดามากเลย คือเค้าจะดูบ้านๆมากอะ แต่ว่าพอเป็นของคนไทย บางทีด้วยความที่สื่อเมืองไทยมันชอบประโคมตัวบุคคลกันขึ้นมา มันกลายเป็นว่าคนๆนึงดังได้ด้วยความที่เค้ามีลุคที่ดีมาก่อนงาน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนเสมอไปหรอกนะ ศิลปินไทยยุคเก่าๆที่เค้าสร้างสรรค์มาจากผลงาน ที่ดังมาจากผลงานล้วนๆก็มีเยอะเนอะ

เคยสอนหนังสืออยู่ที่ประเทศอังกฤษ?

เคยไปเป็นอาจารย์รับเชิญ สอนที่ Cardiff University อะค่ะ เค้าให้เราไปทำเหมือนกับ Tutorial ก็คือการคุย วิพากษ์วิจารย์งานกันตัวต่อตัว แล้วก็มี Lecture บ้าง ส่วนงานที่ทำจริงๆเลย ก็มีรับทำเป็นฟรีแลนซ์  ทั้งนักวาดภาพประกอบ กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ เป็นโมเดลเมกเกอร์ให้กับ Window Display ที่เขาทำดิสเพลให้ห้างในลอนดอนอะค่ะ เราถนัดงานกระดาษ เพราะฉะนั้นก็ทำเป็นโอริกามิ เป็นดอกไม้โอริกามิสีขาวล้วนทำให้กับ Burberry เปิดตัวน้ำหอม แล้วก็ทำกล่องโอริกามิ เป็นกล่องกระดาษเล็กๆให้กับ UNIQLO คือมันก็เป็นประสบการณ์ที่ดีนะคะ ที่เราได้ร่วมงานกับคนต่างชาติแล้วเราก็จะรู้ว่ามันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร กับวีถีไทยกับวิถีต่างชาติ

null

null

ช่วยเล่าให้ฟัง?

ข้อดีของเขาคือเขามีวินัยแล้วก็ตรงต่อเวลามาก เราชอบเลยล่ะ แต่มันก็จะมีบางอย่างที่เครียดมาก เพราะเวลาเขาเป็นเงินเป็นทองกันจริงๆ คือถ้าส่งงานให้ลูกค้าช้าก็จะกระทบไปหมดเลย บางทีคือเจ้านายก็มาบอกว่า โอเค โยนงานให้อีกยี่สิบนาทีจะมาเอา แล้วเราก็ต้องได้แบบนั้นจริงๆ คือมันกดดันมาก ส่วนข้อดีอีกเรื่องคือเวลาทำงานกัน เขาให้เกียรติเรามาก เหมือนเชื่อมือเราเลย เพราะการจ้างงาน เขาเลือกจ้างเพราะว่าเราเหมาะกับงานนั้นๆโดยเฉพาะจริงๆ เหมือนอย่างเราที่ชอบเรื่องเกี่ยวกับภายในร่างกาย เรื่อง Medical พอมีงานที่มาในธีมนี้ เขาก็จะเรียกเรา แล้วโจทย์ที่ให้เหมือนกับโจทย์หลวมๆอ่ะ ให้เราสร้างสรรค์ออกมาเอง คือเขาอยากได้สไตล์แบบนี้แบบเราเค้าถึงเลือกตั้งแต่แรก

ข้อดีข้อเสียของไทย อาจจะความที่เราไม่แบ่ง ไม่แบ่งว่านี้คือเวลาทำงาน นี้คือเวลาพักผ่อน จนเดี๋ยวนี้ก็เริ่มรู้สึกว่าเราเองก็ปรับตัวเข้ากับบริบทของสังคมไปแล้วเหมือนกัน เป็นแต่ก่อนคือถ้าเสาร์อาทิตย์เนี่ย ก็จะไม่มีใครอีเมล์หรือโทรมาทวงงานเลย เพราะว่ามันค่อนข้างหยาบคายมากนะจริงๆแล้ว ยกเว้นว่าแบบ โห่ว สำคัญจริงๆ อืม แต่ที่นี่คือ วันเสาร์วันอาทิตย์ กลางคืนดึกดื่นแค่ไหนก็ยังโทรมาทวงงานหรือโน้นนี้นั้น ตัวเราเองตอนแรกก็ ก็รู้สึกหงุดหงิด แต่ว่าตอนหลังก็เฉยๆ  มันก็คงเป็นวัฒณธรรมที่แตกต่างกันแหละ

แล้วทำไมถึงเลือกกลับมาเมืองไทย?

ตอนนั้นพอทำงานอยู่ได้ประมาณ 2 ปี มันก็ถึงจุดๆหนึ่งที่เราเริ่มรู้สึกว่า เห้ย ที่ทำๆไปเนี่ยก็เหมือนกับโยนเงินทิ้งลงแม่น้ำอะ เพราะว่าค่าใช้จ่ายที่นู่นมันสูงมาก เหมือนเราหาได้เท่าไหร่ก็เอามาจ่ายค่าเช้าบ้านจ่ายค่ากินอยู่ไปหมดเลย ประกอบกับมีคนชวนให้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ด้วย เราก็สนใจ

ตอนนี้ทำอะไรบ้าง?

หลักๆก็มีสอนหนังสือค่ะ มีเป็นอาจารย์พิเศษที่บางมดและก็เป็นอาจารย์พิเศษที่ศิลปากร ที่บางมด สอน Medical illustration อืม… เขาเรียกว่าอะไรนะ มีเดียทางการแพทย์ ส่วนศิลปากรสอน Book  illustration แล้วก็ Sequential Art คือสอนการสร้างคอนเซ็ปในการออกแบบหนังสือแล้วก็ การทำภาพ ทำอย่างไรให้ภาพมีความรู้สึกต่อเนื่องกัน เพราะบางทีอ่ะ เด็กๆออกแบบมา แล้วออกแบบไม่ต่อเนื่อง ออกแบบไม่จบ ไม่เป็นชุด ก็ตรงนั้นล่ะที่จะคอยให้คำปรึกษา ขัดเกลากัน

มุมมองต่อ Young Designer บ้านเรา?

ตอนนี้เรารู้สึกว่า เก่งอะ​ (หัวเราะ) เก่งขึ้นเยอะเลย เข้าใจว่ามีการหา Reference ได้ง่ายดายขึ้น จากอินเตอร์เน็ตหรือจากอะไรรอบๆตัว ซึ่งแต่ก่อนเราจำได้ว่ายุคนั้นคือต้องเขาไปตบตีกันอยู่ในห้องสมุด หนังสือนอกนานๆเข้ามา แล้วเวลามาก็มาเล่มเดียว สมมุติอาจารย์สั่งงาน โอเคออกแบบโลโก้นี้ หรือว่า Coperate Identity แล้วหนังสือต่างประเทศในแนวนั้นก็จะมีอยู่ไม่กี่เล่ม สองเล่มก็เยอะแล้วอ่ะ เราเองก็แย่งเขาไม่ทันหรอก มันจะมีคนไวๆกว่าเสมอๆ (หัวเราะ) ฉะนั้นการเรียนในช่วงนั้นมันก็งูๆปลาๆนะ สุดท้ายเหมือนเรียนรู้กันเอง ต่างกันกับเด็กๆสมัยนี้เก่งเร็วขึ้น เพราะว่าเขารู้เยอะ ได้พบกับสื่อเยอะ แต่ว่ามันก็มีข้อเสียนะ คือตอนนี้เราคิดว่าเด็กๆ อาจจะติดความเป็น Idol ในโลกสมมุตินี้เกินไป นึกออกมั้ย? บางคนโพสต์งานก็จะแบบว่ามีคนกดไลค์เยอะโน้นนี้นั้น แล้วเขาก็จะคิดว่า ก็เก่งแล้วนิ เหมือนกับว่าถ้าเราติงานไป เขาก็จะแบบ “แต่คนก็ชอบเยอะนะ” “ก็มีคนชื่นชมเยอะอะ” อะไรอย่างนี้ เขาก็คงจะรู้สึกว่าอีนี้ทำไมมันไม่รู้เรื่อง ทำไมมันไม่ชอบงานกูวะ ก็คือตรงนี้อยากจะฝากไว้ว่าอย่าไปยึดติดนะ เออแล้วแปลกมากอีกอย่างนึง คือถ้าเทียบกันบ้านเรากับบ้านเค้ามันมีความแตกต่างมากเลยนะ เราก็ไม่รู้เพราะว่ามันเป็นเพราะ Generation รึเปล่า? ไม่รู้ทำไมในเมืองไทยเนี่ยการเล่นเฟสบุ๊คหรือกดไลค์เฟสบุ๊คถือว่าเป็นสิ่งที่ Phenomenon เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากเลย ตอนที่เราไปอยู่ที่อังกฤษ ก็ไม่มีใครแบบกดไลค์เป็นหมื่นๆ เป็นแสนๆ กันแบบนี้นะ แปลกมากๆ

ขนาดคนที่เป็นศิลปินระดับโลก อย่างต่ำอย่างมากก็พัน สองสามพันอะไรอย่างนี้ล่ะ ตอนแรกที่เห็นนี่เราแบบตกใจมาก แล้วก็รู้สึกว่า หูย น่ากลัวจังเลย เพราะนี่แปลว่าบ้านเราตอนนี้ก็เล่นแต่เฟสบุ๊คกันตลอด สุดท้ายมันก็เชื่อถืออะไรไม่ค่อยได้ ดูอย่างตัวเราเองอ่ะ บางทีเราก็กดไลค์เพราะเพื่อนหรือคนรู้จักไง แล้วมันก็ทำให้มีข้อเสียต่อการแสดงออกผลงานของเด็กๆนะ เพราะว่าเด็กบางคนจะรู้สึกว่า “หนูไม่กล้าโพสอ่ะ” “กลัวคนไม่ไลค์” อะไรอย่างเนี่ย มันกลายเป็นความไม่เซล์ฟไปเลย หรือถ้าบางคนก็เซลฟ์เกินไปอีก เออกู ต่อไปนี้เรียนก็ไม่ต้องสนใจคำวิจารณ์ คำคอมเมนท์ แต่ไปดูการโพสลงทางเฟสบุ๊คมากกว่า ไปให้ค่าความความสนใจกันเกินไป

วิธีการคอมเมนต์?

คือมันต้องจากทั้งสองฝ่ายล่ะค่ะ ก็มีจากเราด้วยที่ต้องคอมเมนต์จริงๆ ส่วนเค้าเองก็ต้องมีความเชื่อมั่นในคนที่สอนก่อน เพราะฉะนั้นในคาบแรกๆมันจะไม่ได้ Respond อะไรมากหรอก แต่ว่าพอเราเริ่ม Brief งาน เริ่ม Assign งานไป แล้วเค้าจะสัมผัสได้เองว่าเรารู้จริงๆรึเปล่า แล้วที่สำคัญคือการพูดของเรามันต้องซื่อสัตย์ไง เราไม่ได้อาจารย์ที่พูดแบบว่าเอามันส์ เอาแต่ Taste ส่วนตัวมาจับ จริงล่ะ ที่ Taste ส่วนตัวมันหนีไม่ได้ แต่ว่าก็พยายามให้เป็นกลางที่สุด ดีก็คือดี ไม่ดีก็คือไม่ดี แก้ไขตรงไหน จะพยายามบอกเขา ไม่ใช่พูดแค่ว่า “ยังไม่ดี” แต่จะพยายามบอกว่า “ไม่ดีเพราะอะไร” แล้วถ้าหาทางแนะนำได้ “เธอลองทำแบบนี้มั้ย?” ถ้าหาทางแก้ไขให้เขาได้ก็จะบอกไปเลย หรือไม่ได้ก็จะเดี๋ยวเธอลองกลับไปคิดดูนะ อาจารย์ก็จะขอไปคิดดูนะ พอคาบหลังๆเนี่ยถึงจะเห็นว่าเด็กๆมี Respond ที่ดี เหมือนเขาก็จะเริ่มเชื่อเรา เพราะเขาเองก็เห็นว่างานตัวเองมีการพัฒนา มันหายเหนื่อยเลยนะ เวลาได้เห็นงานที่เป็นรูปเล่มตอนเรียนจบ แล้วเราก็รู้สึกว่าเห้ยเค้าพัฒนามากเลย จากตอนแรกที่ตรวจงานกัน ตรงนี้แหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

null

null

นักเรียนในบ้านเรามีจุดเด่นจุดด้อยอะไรบ้าง?

มันมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ที่เห็นชัดเลยก็คือเด็กไทยจะมี Skill ที่ดีมาก โดยเฉพาะ Drawing Painting Figure คือฟิกเกอร์เราจะเป๊ะมาก เพราะว่ามันมาจากตอนปีหนึ่งที่เราต้องนั่งวาดกันเป็นปี แต่เด็กเดี๋ยวนี้สกิลก็เริ่มต่ำลงเหมือนกันนะ อ่ะ โอเค ไม่เป็นไร มาพูดถึงฝรั่งก่อน ฝรั่งอ่ะที่เคยเห็นๆมาสกิลเค้าไม่ได้แน่นนะ ไม่แน่นเลย แต่เขากล้าแสดงออก กล้า Present ไอเดียตัวเองกัน เหมือนเขาถูกสอนมาให้คิดแบบระบบนั้น ตอนแรกที่เราไป เราเองเจอแบบนี้เราก็ท้อเหมือกันนะ เห้ย เหมือนเราคิดไม่เป็นอ่ะ แต่พอเราตั้งใจจริงๆ เราพยายามเรียนรู้ พยายามสังเกตว่าเขาคิดแบบนี้ มีพัฒนาการอย่างไร คือต้องซึมซับอยู่กันเป็นปี จริงๆย้อนกลับมาเราก็ถือว่า ขอบคุณ ขอบคุณที่ได้เรียนที่ศิลปากรมานะ เพราะรู้สึกเลยว่ามันทำให้เรามีพื้นฐานที่ดีกว่าเขามาก ซึ่งการมีพื้นฐานที่ดีแล้วมันช่วยได้เยอะเลย เวลาที่เรามีจินตนาการอยู่ข้างใน มัน ก็ต้องอาศัยสกิลที่ดีอะ เพื่อจะดึงออกมาได้ ไม่งั้นมันก็ติดอยู่ในหัว นึกออกไหม

ว่ากันว่า Skill Set ในปัจจุบันก็ Drop ลง?

อืม เท่าที่เราสังเกตเห็นนะ แต่จริงๆอาจจะไม่ใช่เฉพาะเด็กไทยก็ได้ เราว่าน่าจะเป็นทั้งระบบทั้งโลกเลย คือเดี๋ยวนี้มันมี Tool เยอะไง พอมีแบบคอมพิวเตอร์ คนก็ทำงานในคอมพิวเตอร์กันหมด เพราะว่ามันแก้ไขได้ง่าย แต่ถ้าเกิดเราเพนต์ด้วยมืออะ สมมุติเราเพนต์ผิดสี แบบสีนี้ทำออกมาแล้วมันไม่เขากับสีนี้เลย ถ้าเป็นเพนต์มือมันต้องเพนต์ใหม่ เทียบกับสมัยนี้มันเสียเวลากว่ามาก เดี๋ยวนี้การทำงานมันเหมือนทุกอย่างมันต้องแข่งกับเวลากันหมดแล้วอะ ก็ไม่มีใครอยากจะมานั่งไม่อยากจะมานั่งจุ๊กจิก จุ๊กจิ๊ก อะไรอย่างนี้

เรากำลังจะบอกว่าการตั้งใจปั้นอะไรขึ้นมาสักอย่างมันเริ่มหมดไป?

มันก็ไม่แน่นะ ไม่แน่ๆ เพราะว่าอาจจะมีจุดเปลี่ยน มันอาจจะมี Movement ใช่มั้ยคะ เวลาที่อะไรมันมีความอิ่มตัวมากแล้ว พอกระแสมันอิ่มตัวมาก คนมันจะเริ่มหน่าย เริ่มเบื่อ บางทีงานคราฟท์หรืองานมือ ก็จะกลับมา ถ้าสังเกตดูช่วงนี้มันก็เริ่มแล้วนะ เห็นมั้ยอะไรที่มันสโลว์ไลฟ์ คราฟท์ติ้งอะไรอย่างเนี่ย มันเริ่มจะกลับมา เพราะคนจะโหยหา เวลาที่เราอยู่กับสิ่งนั้นนานๆ มันจะพลิกไปพลิกมา

ทุกวันนี้เรา Define ตัวเองเป็นศิลปินไหม?

ไม่ คือพอมาถึงจุดหนึ่ง ไม่รู้สิ สำหรับเรารู้สึกว่าอยากทำงานร่วมกับคนอื่นมากขึ้น เพราะว่าถ้าเป็นศิลปินหรือคนสร้างมันเหมือนกับเราอยู่กับตัวเองแล้วก็อยู่กับกลุ่มคนที่เป็นศิลปินด้วยกันแค่นั้น พอเวลาที่เราไปเรียนที่นั้นแล้วเรารู้สึกว่าอุ้ยดีจังเลย พวกระบบการคิดเหล่านี้ที่ได้ไปเจอมา แล้วเรารู้สึกว่าเราน่าจะได้เรียนแบบนี้ตั้งนานแล้ว ก็เลยรู้สึกว่าอยากกลับมาเป็นอาจารย์สอนเป็นครูสอน เพื่อที่จะให้คนอื่นได้รับรู้ว่ามีการระบบความคิดแบบนี้นะ เค้าจะได้นำไปปรับใช้กับชีวิตเค้าได้เร็วขึ้น เรารู้สึกว่าการกลับมาเป็นอาจารย์มันทำให้สิ่งที่เราได้ไปเรียนรู้มาจากตะวันตกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เราได้พัฒนาคน บุคลากร เป็นสิ่งที่เราเองก็รู้สึกว่าทำแล้วมีคุณค่าด้วยไง พูดตรงๆที่ผ่านมาก็คือทำงานเพื่อสนอง Need ตัวเอง ว่าฉันก็อยากทำนี่ ทำนั่น อะไรอย่างนี้

null

นักวาดภาพประกอบไทยสามารถไปยืนอยู่ในระดับโลกได้?

มันขึ้นอยู่กับว่าเราจะหลุดจากกรอบนั้นได้หรือป่าว นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญเลยที่เรากลับมาแล้วอยากแชร์ให้กับคนอื่น พอเรากลับมามองแล้ว เราเห็นเลยว่ามีบางอย่างที่รู้สึกว่ามันจะกลายเป็นกรอบทางความคิดของคนบ้านเรานะ มันไม่ใช่แค่ในรั้วมหาลัย คือเราจะได้ยินตลอดเลยอะ ว่าทำงานอะไร วาดอะไร หรือออกแบบอะไร “ต้องมีอัตลักษณ์ความเป็นไทยนะ” คือตรงนี้เรารู้สึกว่า พอเราได้ออกไปอยู่ข้างนอก เหมือนเราถอยห่างจากตรงนี้ย้อนกลับมามอง เรารู้สึกเลยว่าอันนี้มันเป็นกรอบชัดเจน เคยแสดงงานอยู่ครั้งนึง เพื่อนก็ไปดูงานมาแล้ว Text มาบอกว่า เอองานสวยมากเลย เราก็งงว่า เอ้ยเค้ารู้ได้ไงว่าเป็นของเรา เค้าก็บอกว่าตรงนี้ใช่ไหมๆ เออ ใช่เลย รู้ได้ไง “ก็มันดูไทยอะ” ตอนนั้นเราก็งงว่ามันไทยตรงไหนวะ (หัวเราะ) เพราะงานเราก็ไม่ได้ใช้ลายไทยหรือลายเลื้อยอะไรนะ ก็เป็นลายเป็นต้นไม้ แถมบางจุดยังมี Element ของตะวันตกด้วยซ้ำ เพื่อนมันก็บอก ก็มันดูละเอียด ดูยิบยับ มันไม่ใช่เป็นแบบมิติแบบฝรั่ง มันจะเป็นเหมือนภาพเขียนฝาผนัง ซึ่งจริงๆเราไม่ได้พยายามเลยนะ แต่มันออกมาเองก็เราเป็นคนไทย เราจะทำอะไรเราก็เป็นเราอะ ก็เลยกลับมาลองคิดเปรียบเทียบว่า เออว่ะ ฝรั่งไม่เคยเห็นมันมีโจทย์ว่า “จงออกแบบภาพประกอบให้มีความเป็นอังกฤษ” แต่มันจะมีเอกลักษณ์ด้วยตัวของมันเองล่ะ ทุกคนมันล้วนแต่ทำงานที่มันมาจากสิ่งที่เราเคยผ่าน เคยพบ เคยประสบมาทั้งนั้น

อยากเห็นอะไรในวงการนี้ในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า?

อยากเห็นเด็กๆหรือคนรุ่นใหม่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นค่ะ เพราะตอนนี้เราเห็นว่าเรามีความฝรั่งอยู่เยอะ คือมันไม่ใช่ลอกเอาของเค้ามาหมดนะ มันเหมือนเราไปหยิบสไตล์ของเค้ามาทำเป็นงานเรา เราเห็นแล้วเรารู้อะว่ามันเป็นสไตล์ที่ไม่ใหม่ บางคนเค้าอาจจะไม่รู้สึกเพราะเค้าอาจจะไม่ได้ Research  หรือดูมา สำหรับเรายังไม่ค่อยเห็นว่ามีใครที่ Unique ผุดออกมาจากตรงนี้ได้นะ ทุกคนล่ะอยากทำงานให้ออกมาเท่ออกมาเก๋ ให้มันเท่เหมือนกับสิ่งที่มันเคยมีก่อนหน้านี้ในต่างประเทศอยู่แล้ว ไอ้ตรงนี้ล่ะ มันจะเป็นอุปสรรคที่จะทำให้เราค้นไม่เจอตัวเองจริงๆสักที เมื่อไหร่ที่เราเจอตัวตนของเราสิ่งนี้แหละถึงจะเรียกว่ายั่งยืน แล้วเราก็จะสามารถ Enjoy กับมันได้จริง ต่อไปเวลามีคนจ้างหรือได้รับโจทย์ ก็จะเป็นโจทย์ในแบบที่เราสนุกกับมัน ได้ทำในแบบที่เราอยากทำอยู่ตลอดเวลา

Writer: Pakkawat Tanghom
Photographer: Pakkawat Tanghom

RECOMMENDED CONTENT

19.เมษายน.2019

เป็นครั้งแรกที่บริษัทผู้สร้างตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดอย่าง Monotype ได้ทำการออกแบบตกแต่งตัวชุดอักษรที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอย่าง Helvetica หลังจากที่พยายามปลุกปล้ำกันอยู่นานกว่าสองปีเพื่อที่จะปรับปรุงชุดตัวอักษรที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบ swizz font