fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#FIT | สายกีฬา ชอบความผาดโผน ระวังไว้! ขยับตัวผิดจังหวะ รุนแรง เสี่ยงเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ 
date : 2.กุมภาพันธ์.2024 tag :

เชื่อว่าหลายๆ คนชื่นชอบการเล่นกีฬาและการทำกิจกรรมผาดโผนมากเป็นชีวิตจิตใจ  เพราะการที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ขยับแขนขา และอวัยวะต่างๆ พร้อมกันทุกส่วนนั้น นอกจากจะช่วยเพิ่มความตื่นเต้น ฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย และได้เรียกเหงื่อแล้ว สำหรับคนที่อยากจะควบคุมน้ำหนักก็ยังได้เบิร์นไขมันไปในตัว ช่วยสร้างหุ่นกระชับด้วยนั่นเอง แต่การเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมผาดโผนก็มีข้อควรระวัง เพราะหากขยับตัวผิดจังหวะ ร่างกายได้รับการกระทบกระเทือนมากเกินไป อาจนำไปสู่อาการเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บหรือฉีกขาดอย่างถาวรได้ด้วย! ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจะเข่าหลวม ปวดเข่า เดินได้ลำบาก หรือทำกิจกรรมที่ขยับร่างกายเยอะๆ ไม่ได้อีกเลย ในบทความนี้เราจึงขอพาทุกคนมาสำรวจถึงอาการและสาเหตุที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บที่สายกีฬา ชอบความผาดโผนควรระวังไว้ จะได้เซฟเอ็นไขว้หน้า และหัวเข่าให้ปลอดภัยไว้ใช้งานยาวๆ ตามมาดูกันเลย!  

อาการเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บเป็นอย่างไร 

เอ็นไขว้หน้า หรือเอ็นไขว้หน้าเข่า (Anterior Cruciate Ligament: ACL) เป็นหนึ่งในเส้นเอ็นของหัวเข่า ที่ยึดระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง โดยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระดูกที่หน้าแข้งของเราให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางและมุมต่างๆ ได้ ช่วยเสริมความมั่นคงให้ข้อเข่า พร้อมป้องกันไม่ให้หัวเข่าเหยียดตึง ผิดองศา ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อต้นขา และเส้นเอ็นที่หัวเข่านั่นเอง 

ด้วยเอ็นไขว้หน้าของเรามีหน้าที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของหัวเข่าและขา เมื่อได้รับการกระทบกระเทือนจากกิจกรรม หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดจังหวะ รุนแรงจนเกินไปจึงอาจนำมาสู่อาการเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บได้ ซึ่งสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นหลักๆ ได้ดังนี้ 

– ได้ยินเสียงลั่นในหัวเข่า 

– มีอาการเจ็บ หรือปวดรุนแรงบริเวณข้อเข่าจนไม่สามารถเดิน หรือทำกิจกรรมได้ปกติ

– ข้อเข่าเกิดอาการบวมช้ำ ปูดขึ้นมาจากปกติ

– ข้อเข่าหลวม รู้สึกเดินหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อย่างไม่มั่นคง

หากใครที่เช็กอาการเบื้องต้น แล้วพบอาการตามนี้ ก็เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเรากำลังมีอาการเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บหรืออาจฉีกขาดแล้ว ซึ่งควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ เพื่อไม่ให้อาการบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าเดิม หรือสามารถรักษาให้หายด้วยวิธีที่เหมาะสม ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง

สาเหตุที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวรุนแรง ซึ่งเสี่ยงทำให้หัวเข่าได้รับการกระทบกระเทือน โดยสามารถแบ่งสาเหตุหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้ 

1) การเล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมที่มีความผาดโผน 

การเล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมที่มีความผาดโผนเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บเลยก็ว่าได้ เพราะการเล่นกีฬาและกิจกรรมบางชนิดต้องอาศัยการเคลื่อนไหวที่เน้นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และมักจะมีการปะทะร่างกายกันโดยตรง เช่น การเล่นกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ การต่อยมวย แบดมินตัน คาร์ดิโอร่างกายส่วนล่างแบบต่อเนื่อง การกระโดด ซึ่งจะเป็นกีฬาและกิจกรรมที่มีการลงน้ำหนักไปที่ข้อเข่าจำนวนมาก มักจะถูกกระแทก หรือมีการหมุนข้อเข่าขณะที่เหยียดตรงอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงการขยับร่างกายไม่ถูกต้อง ฝืนกล้ามเนื้อและเอ็นที่ข้อเข่า ซึ่งส่งผลให้เส้นเอ็นไขว้หน้าได้รับบาดเจ็บ เอ็นไขว้หน้าอักเสบ หรือฉีกขาดรุนแรงได้นั่นเอง 

ดังนั้นขณะที่เล่นกีฬา หรือขณะที่ทำกิจกรรมผาดโผน ขยับร่างกายเยอะๆ ควรมีความระมัดระวังเสมอ ควรวอร์มอัป ยืดเหยียดร่างกายก่อนเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมทุกครั้ง สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายสามารถขยับได้อย่างสะดวก ที่สำคัญหากพบว่าตนเองร่างกายไม่พร้อม หรือเริ่มมีอาการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อข้อเข่า ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมผาดโผนโดยเด็ดขาด    

2) อุบัติเหตุที่กระทบกับข้อเข่า 

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว ขณะที่เกิดอุบัติเหตุ จึงอาจไม่สามารถเซฟร่างกายได้ทันท่วงที ยิ่งหากเป็นอุบัติเหตุที่กระทบกับข้อเข่าด้วยแล้ว ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม ก็อาจทำให้เส้นเอ็นไขว้หน้าอักเสบ หรือฉีกขาดได้ เช่น หกล้ม ตกบันได อุบัติเหตุทางรถยนต์ รวมไปถึงอุบัติเหตุเล็กๆ อย่างการยกของหนักจนหล่นลงมาทับขา หรือเข่า เดินชนโต๊ะหรือวัตถุหนักๆ 

3) ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย

ทราบหรือไม่ว่าผู้หญิงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ หรือฉีดขาดได้มากกว่าผู้ชาย แม้ว่าจะไม่ได้เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมผาดโผนก็ตาม เพราะสรีระร่างกายของผู้หญิง ข้อเข่าจะมีมุมมากกว่า ทั้งยังมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้ขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การกระโดด การวิ่ง การทำกิจกรรมอื่นๆ กลุ่มผู้หญิงจึงมีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็นไขว้หน้าได้ง่ายกว่า ดังนั้นสาวๆ อย่าชะล่าใจที่ตนเองไม่ได้เป็นคนเล่นกีฬา หรือชอบทำกิจกรรมผาดโผน ขยับร่างกายรุนแรง แต่กิจกรรมเล็กๆ ที่ขยับตัวผิดจังหวะ เอ็นไขว้หน้าก็อักเสบ หรือฉีกขาดได้เช่นเดียวกัน 

 

และนี่คืออาการและสาเหตุที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บที่สายกีฬา ชอบความผาดโผนควรระวังไว้ รวมถึงสาวๆ ที่ข้อเข่าและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นน้อยกว่าผู้ชายด้วย เพราะเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ ไม่ใช่แค่การบาดเจ็บธรรมดาทั่วไป ที่สามารถทายา หรือปล่อยทิ้งไว้ให้หายเองได้ แต่หากมีอาการที่รุนแรง เอ็นไขว้หน้าอักเสบ ฉีดขาด อาจทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติดังเดิม ต้องเผชิญกับอาการปวดหัวเข่า เข่าหลวม ไม่สามารถเดิน หรือขยับร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ได้เลย ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้ถูกวิธีและอยู่ในความดูแลของแพทย์มากประสบการณ์ เพื่อวินิจฉัยอาการโดยละเอียด และสามารถเลือกวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใส่เฝือก การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา หรือการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการพยายามเซฟร่างกายทุกๆ ครั้งขณะที่เล่นกีฬา หรือขณะทำกิจกรรมที่มีการขยับตัวเยอะๆ หลีกเลี่ยงการปะทะร่างกาย การออกแรงโดยฝืนกล้ามเนื้อหัวเข่า เพื่อยืดอายุการใช้งานข้อเข่าให้ใช้งานได้นานที่สุด รวมถึงไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรด้วย

หากนักกีฬา หรือคนที่ชอบทำกิจกรรมผาดโผนคนไหน เริ่มรู้สึกว่าข้อเข่าตนเองไม่สามารถใช้งานได้ปกติ หรือรู้สึกเจ็บปวดที่ข้อเข่าแทบตลอดเวลา สงสัยว่าตนเองกำลังมีอาการเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บอยู่หรือไม่ สามารถขอคำปรึกษาและเข้ารับการตรวจอาการอย่างละเอียดได้ที่ KDMS Hospital โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อที่มีแพทย์มากประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรค การผ่าตัด และการทำกายภาพบำบัด พร้อมกับโปรแกรมตรวจสุขภาพกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างครบครัน สามารถติดต่อสอบถามและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอ็นไขว้หน้าบาดเจ็บ ได้ที่ https://kdmshospital.com/ หรือ โทร. 02-080-8999

 

RECOMMENDED CONTENT

18.มกราคม.2023

อาดิดาส เปิดตัวชุดแข่งขันทีมชาติอิตาลีคอลเลกชันแรก ร่วมกับสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี หลังประกาศความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา โดยทีมชาติอิตาลีทุกระดับจะสวมชุดแข่งขันของอาดิดาส ไม่ว่าจะเป็น ทีมฟุตบอลชาย ทีมฟุตบอลหญิง ทีมฟุตบอลชุดเยาวชน ทีมฟุตซอล ทีมฟุตบอลชายหาด รวมถึง ทีมอีสปอร์ต (e-sports)