fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

Keds “PROGRESS” ก้าวไปข้างหน้าด้วยคุณค่าในแบบของตัวเอง
date : 1.ตุลาคม.2020 tag :

Keds (เคดส์) รองเท้าสนีกเกอร์ผู้หญิงจากอเมริกา ก่อตั้งในปี .. 1916 และเป็นแบรนด์แรกที่ใช้ชื่อเรียกว่า “Sneaker” (สนีกเกอร์) โดย Henry Nelson McKinney ตัวแทนของบริษัทโฆษณา N. W. Ayer & Son คำว่า Sneaker ถูกให้ความหมายว่าเป็นรองเท้าที่มีพื้นยางนุ่ม และไม่มีเสียง ทำให้ผู้สวมใส่สามารถแอบย่องหนีออกไปเที่ยวได้ รองเท้า Keds ได้ผลิตมาจากยางล้อรถ ในปี ..1892 โดยบริษัท US Rubber Company จากนั้นเป็นเวลาหลายสิบปีที่ Keds ได้กลายเป็นรองเท้าคู่โปรดของนักแสดง ดารา เซเลบริตี้ นักกีฬา ตลอดจนแฟชั่นไอคอน ไม่ว่าจะเป็น ออเดรย์ เฮปเบิร์น, มาริลิน มอนโร, แจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิ และโยโกะ โอโนะเป็นต้น

อาจพูดได้ว่า “Keds คือแม่ทุกสถาบันของ Sneakers” นั่นเอง

ในปี 1916 ยุคที่ผู้ชายเป็นใหญ่ และผู้หญิงยังถูกกดขี่ให้อยู่ในกรอบจารีตประเพณี Keds ไม่ได้เป็นเพียงแค่แบรนด์รองเท้าสำหรับผู้หญิง แต่เป็นแบรนด์ที่ริเริ่มผลักดัน และสนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพ กล้าที่จะออกจากกรอบและขนบแบบเดิมๆ โดยเริ่มจากการทำหนังสือออกมาในชื่อว่า “Hand-Book for Girls” ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มเป็นการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสาววัยรุ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับผู้หญิงในยุคนั้นเลยทีเดียว ในปี 2020 Keds อยากตอกย้ำความเป็นแบรนด์ที่ยังคงสนับสนุนให้ผู้หญิงมีคุณค่าในแบบของตัวเอง จึงได้นำแคมเปญ “Hand-Book for Girls” มาปัดฝุ่นใหม่โดยการปรับเป็น “Hand-Book for Women” เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้หญิงทุกเพศทุกวัย และเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยจึงจัดทำในรูปแบบดิจิตอล และกำหนดแนวทางการนำเสนอเนื้อหาใหม่ เป็นการนำเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจจากชีวิตจริงของผู้หญิงทั่วทุกมุมโลก พวกเธอไม่ใช่คนดัง หรือไอดอลสวยหรู แต่มีอัตลักษณ์ ความเชื่อมั่น และประสบความสำเร็จบนเส้นทางในแบบของตัวเอง พร้อมรวบรวมภาพรองเท้า Keds ประจำซีซั่นที่ปรากฎในเรื่องราวของผู้หญิงแต่ละคนควบคู่ไปอีกด้วย

แคมเปญ “Hand-Book for Women” มีการเปลี่ยนธีมประจำซีซั่นที่แตกต่างกันออกไป โดย Autumn/Winter 2020 นี้ Keds ใช้ชื่อธีมว่า “Progress” โดยทางแบรนด์ได้คัดเลือกผู้หญิง 13 คน จาก 5 ประเทศ มาถ่ายทอดเรื่องราวของพวกเธอผ่านบทสัมภาษณ์และภาพถ่ายยามสวมใส่รองเท้า Keds คู่โปรดเพื่อสะท้อนสไตล์ที่เป็นตัวเอง โดย 1 ใน 13 คนนั้นมีชื่อของสาวไทยอย่างโรสพวงสร้อย อักษรสว่าง ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง นครสวรรค์ (Nakorn-Sawan) ร่วมอยู่ด้วย โรสเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ ควบคู่กับการเป็นนักเขียนบท และกำลังมีชื่อเสียงในแวดวงภาพยนตร์ไทยในขณะนี้

โรสพวงสร้อย อักษรสวรรค์ เป็นผู้หญิงเพียงไม่กี่คนที่สามารถยืนอยู่ในแวดวงผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยถูกจำกัดไว้ให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น โรสเริ่มกรุยทางสู่วงการแผ่นฟิล์มด้วยการเป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ให้เจ้าพ่อสายอินดี้อย่าง เต๋อนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ในภาพยนตร์เรื่อง36ก่อนตัดสินใจบินไปศึกษาต่อด้านภาพยนตร์ที่ประเทศเยอรมนี โดยระหว่างนั้นเธอได้แสดงทักษะการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ ด้วยการเขียนพ็อกเก็ตบุ๊คMy Best Friend is Me” และได้นำการสื่อสารระหว่างแม่กับตัวเธอตลอดเวลา 4 ปีที่อยู่ต่างแดน มาเป็นแรงบันดาลใจในการกำกับภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกชื่อว่านครสวรรค์และได้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ (Busan international Film Festival 2018)  ทำให้ชื่อของโรสพวงสร้อย อักษรสวรรค์ ขึ้นแท่นผู้กำกับฯ หญิงไทย ที่มีฝีมือโดดเด่น และน่าจับตามอง ล่าสุดโรสได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมเขียนบทของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์One For The Roadที่เป็น  การร่วมมือระหว่าง บาสนัฐวุฒิ พูนพิริยะ และ หว่อง กาไว เจ้าพ่อหนังอาร์ตระดับฮอลลีวู้ด ซึ่งเรื่องราวของโรสนี้ได้ถูกหยิบยกมาเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงมี “PROGRESS” ในแบบของตัวเอง

สิ่งที่เราอยากแนะนำผู้กำกับภาพยนตร์หญิงรุ่นใหม่ทุกคน คือการเล่าเรื่องราวในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ สิ่งที่ตัวเองรู้สึกจริงใจกับมัน ถ้าคุณรู้สึกเชื่อในเรื่องรักๆ ก็ทำเลย อย่าให้ความคิดของคนอื่นมารั้งให้เราไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ เชื่อในเส้นทางและเรื่องราวของตัวเอง พยายามมองหาโอกาสแล้วลงมือทำ อีกอย่างคือ การมีแค่ไอเดียอย่างเดียวไม่พอ เราต้องหาทางที่จะแชร์เรื่องราวของเราด้วย เช่น เทศกาลหนังต่างๆ เพื่อให้คนอื่นได้เห็นผลงานของเราด้วย

อย่าให้ความคิดของคนอื่นมารั้งให้เราไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ เชื่อในเส้นทางและเรื่องราวของตัวเอง พยายามมองหาโอกาสแล้วลงมือทำ

RECOMMENDED CONTENT

12.มกราคม.2023

เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป ประเทศไทย เอเจนซี่โฆษณาชั้นนำของประเทศไทย ในเครือปับลิซิสกรุ๊ป ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ทำแคมเปญ ลดเค็ม ลดโรค รณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคโซเดียม ที่มากเกินไปจนสะสมในร่างกายทำให้เกิดโรคร้าย และปรับพฤติกรรมนี้