fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

ถอดบทเรียนอสังหาฯ อาเซียน ในยุคโควิด-19
date : 18.พฤษภาคม.2020 tag :

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยแต่ละประเทศต่างก็มีมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ในขณะเดียวกันอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนก็เริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดลดน้อยลง เปิดโอกาสให้หลายธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ตามปกติ แม้จะยังมีความกังวลหลังจากบทเรียนจากบางประเทศที่มีการกลับมาระบาดของโรคซ้ำสองหลังมีมาตรการผ่อนปรน

จากรายงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เผยว่าการท่องเที่ยว ค้าปลีก และธุรกิจบริการต่าง จะได้รับผลกระทบหนักสุด เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ประกาศใช้ ทำให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การจ้างงานและอาชีพพื้นฐานที่มีความเสี่ยงต่าง ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง 

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังตอกย้ำถึงโอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวทั่วโลกเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรายงานจากหลาย แหล่ง ได้คาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ในช่วงเริ่มแรกของการระบาดอาจส่งผลเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจทั่วโลก แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รวดเร็วของไวรัสที่กระจายตัวทั่วโลก ยิ่งตอกย้ำภาพรวมเศรษฐกิจที่จะเติบโตลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียนมีการปรับตัวเพื่อตอบรับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ โดย DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย และเว็บไซต์ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้จัดทำรายงานและวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวเพื่อเป็นแนวทางให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้พิจารณาในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

ไทย

จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index Q2 2563 พบว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในปี 2563 มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมีสัญญาณมาตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ราคาและอุปทานลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยท้าทายหลายด้านทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

โดยดัชนีราคาในไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลง 1% จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลงถึง 9% ในรอบ 1 ปี ส่วนดัชนีอุปทานแม้จะยังทรงตัว แต่ก็ลดลง 3% ในรอบ 1 ปี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิกฤติโควิด-19 จะทำให้ตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว แต่จะเห็นได้ว่าราคาคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮ้าส์ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโปรโมชันลด แลก แจก แถมต่าง ของผู้ประกอบการอสังหาฯ หลายราย เพื่อเร่งระบายสินค้าคงค้าง จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ซื้อที่มีความพร้อม ที่จะได้สินค้าในราคาที่เหมือนกับช่วงเปิดตัวโครงการ นอกจากจะเป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองแล้ว ยังเหมาะกับการซื้อเพื่อลงทุน เนื่องจากราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ โดยเฉพาะสินค้าระดับกลางบน ที่มีการเติบโตของระดับราคาเป็นอย่างมาก

สิงคโปร์

ผู้ประกอบการอสังหาฯ จำนวนมากมีแนวโน้มที่จะลดราคาอสังหาฯ ลงอีกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 หากสถานการณ์ชัตดาวน์ประเทศสิงคโปร์ยังยืดเยื้อ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเชื่อมั่นและการคาดการณ์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ที่ลดลง 

จากรายงาน PropertyGuru Singapore Property Market Index ฉบับล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาลดลง 1.1% ในไตรมาสแรกของปี 2563 สอดคล้องกับข้อมูลจาก Urban Redevelopment Authority ที่ระบุว่าราคาอสังหาฯ ที่ไม่ใช่ที่ดินและคอนโดมิเนียมจะปรับตัวลดลง 1% ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ จำเป็นต้องลดราคาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้านผู้ประกอบการอสังหาฯ ในประเทศยังคงมองตลาดอสังหาฯ เป็นบวกและเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 

อย่างไรก็ดีภาคธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่ไม่หวั่นวิตกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดมากนัก เนื่องจากเชื่อมั่นในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมทั้งความแข็งแกร่งของภาคอสังหาฯ ที่มีการออกมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้ (TDSR) และ มาตรการกำกับควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV)

มาเลเซีย
จากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในมาเลเซียตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนภาครัฐต้องใช้มาตรการชัตดาวน์ประเทศ ทำให้ภาคธุรกิจหยุดชะงัก ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงรักษาการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องมาจากไตรมาสแรกของปี 2563 โดยวัดได้จากดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้น 

สอดคล้องกับรายงาน PropertyGuru Malaysia Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่พบว่า  ดัชนีราคาในไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย หรือเพิ่มขึ้น 0.63% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมองอสังหาฯ ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหากต้องการสร้างความมั่นคง สวนทางกับจำนวนอุปทานใหม่ที่ลดลงถึง 10.47% ซึ่งลดลงมากสุดในรอบ 3 ปี

อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา จำนวนอุปทาน รวมถึงมูลค่าการทำธุรกรรมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาจส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาในตลาด ซึ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ รักษาระดับราคาอสังหาฯ ในพื้นที่สำคัญ ให้คงที่หรือเพิ่มราคาได้อีก

อินโดนีเซีย

ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศอินโดนีเซียคาดการณ์ว่า ภาคอสังหาฯ ของประเทศในปีนี้จะเติบโตขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Rumah.com Indonesia Property Market Index ฉบับล่าสุด ที่ชี้ให้เห็นว่า ปี 2563 จะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูภาคอสังหาฯ เนื่องจากการสนับสนุนของภาครัฐฯ ที่ออกนโยบายผ่อนปรนมาตรการ LTV สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่สอง ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการอสังหาฯ นักลงทุน และภาคธุรกิจอื่น ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น 

อย่างไรก็ดีจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทางด้านภาคอสังหาฯ ในไตรมาสแรกของปี 2563 พบว่า มีจำนวนอุปทานใหม่ลดลง สวนทางการเติบโตของความต้องการซื้อ ทำให้ผู้ที่ขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ผ่านมาเป็นกลุ่มผู้บริโภค 

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาอสังหาฯ มากกว่าโปรโมชันส่วนลดหรือของแถมอื่น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแข่งขันด้านราคากันอย่างรุนแรง โดยผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใดที่นำเสนอราคาได้ถูกกว่า ก็มีโอกาสขายได้ 

นอกจากนี้ยังจะได้เห็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการให้บริการของภาคอสังหาฯในอาเซียนที่หันมาสร้าง “New Norm” ให้เกิดขึ้น ถือเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ โดยใช้โอกาสนี้เข้าถึงลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ และการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์

ถอดบทเรียนจากโควิด-19 

คุณกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ในเครือพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ทั่วอาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ หลายราย ต้องพับแผนในการเปิดตัวโครงการใหม่ การก่อสร้างหยุดชะงัก งานแสดงบ้านระดับบิ๊กอีเวนท์ที่โกยรายได้มากมายในแต่ละปีก็ไม่สามารถจัดขึ้นได้ เนื่องจากการ Social Distancing 

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในอาเซียนต่างเห็นตรงกันว่า กุญแจสำคัญสำหรับการรอดพ้นในช่วงวิกฤติคือการวางแผนการเงินสำรองฉุกเฉิน การทำแผนตลาดให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกินความคาดหมาย ยกระดับการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีเพื่อต่อเกมธุรกิจ สร้างประสบการณ์ดิจิทัลแก่พนักงานและลูกค้าได้ต่อเนื่องแม้ทุกอย่างจะหยุดชะงัก ซึ่งอาจจะมีอีกหลากหลายคำตอบที่ใช้เอาชนะความท้าทายต่าง ได้ เพียงแค่ต้องบริหารจัดการให้เหมาะสม

บทเรียนที่วิกฤติโควิด-19 ได้ฝากไว้คือ ภายใต้สถานการณ์ที่ทุกอย่างหยุดชะงัก ผู้บริโภคได้เรียนรู้ที่จะปรับและค้นหาวิธีการใหม่ ในการจัดการชีวิต การทำงาน รวมทั้งการค้นหาบ้าน

แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติโควิด-19 แต่ผู้บริโภคยังคงให้ความสนใจอสังหาฯ อย่างต่อเนื่อง ยืนยันได้ด้วยจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ DDproperty.com พบว่า จำนวนการเข้าชมและทำการค้นหาต่อบนเว็บไซต์ เพิ่มสูงขึ้นถึง 8% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเคอร์ฟิว

ดังนั้นผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่ปรับตัวได้ก่อน อาทิ การใช้ช่องทางออนไลน์แบบครบวงจร หรือใช้เทคโนโลยี Virtual Tour ในการรีวิวโครงการ แทนการเข้าชมจริง ก็จะสามารถประคองธุรกิจ หรือก้าวไปข้างหน้าได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์นี้

ด้านผู้บริโภค ยังยืนยันว่าช่วงนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ซื้อที่มีความพร้อม ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในทำเลดี ที่ราคาไม่สูง พร้อมโปรโมชันมากมาย ทั้งเพื่ออยู่เอง รวมทั้งการขยายพอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่มองหาช่องทางการลงทุนที่ดีหลังจากผ่านวิกฤติโควิด-19 เนื่องจากอสังหาฯ ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่ www.ddproperty.com   

RECOMMENDED CONTENT

26.กรกฎาคม.2022

มาแรงสมการรอคอย สำหรับศิลปินหญิงยอดฟังสูงสุดอันดับ 1 มากความสามารถอย่าง “BOWKYLION” (โบกี้ไลอ้อน) หรือ “โบกี้ - พิชญ์สินี วีระสุทธิมาศ” จากสังกัดค่าย What The Duck (วอท เดอะ ดัก) ที่ประสบความสำเร็จด้วยผลงานเพลงคุณภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “ทราบแล้วเปลี่ยน”, “บานปลาย”, “ซับ”, และเพลง “ยิ้มมา” ที่กวาดยอดวิวทะลุหลักล้านทุกเพลง กลับมาครั้งนี้ “BOWKYLION” (โบกี้ไลอ้อน) ตั้งใจพาทุกคนดำดิ่งไปกับเพลงใหม่ความหมายเศร้าอย่างเพลง “วาดไว้ (Recall)” เพลงเศร้าที่มีจุดเริ่มต้นจาก ‘ภาพวาด’ ที่ได้มาจากแฟนคลับ