“นักวาดการ์ตูนที่ต้องเอาชีวิตเข้าแลก” เคยคิดมั๊ยครับว่าการ์ตูนที่เราอ่านกันสนุกๆ ชีวิตของนักเขียนนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง การเขียนเรื่องสร้างพล๊อตเรื่อง เอาเรื่องมาทำสตอรี่บอร์ดส่งยื่นค่าย ปรับแก้อีกกี่ครั้งจนกว่าจะมาทำเป็นต้นฉบับ เพื่อที่จะตีพิมพ์ได้
เขียนเรื่องเกี่ยวกับการ์ตูนมาทั้งที เรื่องน้ก็เป็นเรื่องที่สิบแล้ว ถ้าจะไม่เอ่ยถึงนักเขียนการ์ตูนก็ยังงัยยังงัยอยู่ แต่ถ้าพูดถึงนักเขียนการ์ตูนเขามีชีวิตอย่างไรนั้นให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นตัวแทนเล่าดีกว่า Bakuman ชื่อไทยคือ “วัยซนคนการ์ตูน” แต่งเรื่องโดย Tsugumi Ohba “สึงุมิ โอบะ” (ผู้แต่งเรื่อง ลักกีแมนโอบะมีงานอดิเรกคือ พัฒนาโครงเรื่องการ์ตูนโดยนั่งชันเข่าบนเก้าอี้แบบ L ตัวละครในเดธโน้ต)และวาดภาพโดย Takeshi Obata “ทาเคชิ โอบาตะ” (นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น โดยปกติมักจะทำงานเป็นคู่กับนักเขียนท่านอื่น เช่น Hikaru Go! ฮิคารุเซียนโกะ, DEATH NOTE) ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ในประเทศไทยจัดพิมพ์โดยบริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด ผู้แปลภาษาไทย คุณอิศเรศ ทองปัสโณว์
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ มาชิโระ โมริทากะ และ ทาคากิ อาคิโตะ สองคู่หูนักเรียนมัธยมที่จับมือร่วมกันเขียนการ์ตูนเพื่อทำความฝันในการก้าวสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนอาชีพ แต่ที่สามารถจะอยู่ได้ด้วยการเขียนการ์ตูนอย่างเดียวนั้นมีน้อยมาก อาของเขาที่เป็นนักเขียนการ์ตูนที่ตายไปแล้ว เคยบอกกับเขาว่านักเขียนการ์ตูน ถ้าไม่มีพรสวรรค์จริงๆ ก็เป็นแค่นักเสี่ยงดวง เรื่องวุ่นๆเกิดเมื่อ มาชิโระ โมริทากะ ตกลงที่จะยอมเขียนการ์ตูนคู่กับ ทาคากิ อาคิโตะ โดยให้ ทาคากิ อาคิโตะ เป็นคนเขียนเรื่องและตัว มาชิโระ โมริทากะ นั้นวาด โดยสาเหตุนั้นมาจากผู้หญิงคนนึงที่ มาชิโระ โมริทากะ นั้นแอบชอบอยู่ (เนื่อเรื่องเป็นอย่างไร อยากให้ไปอ่านดูเองนะครับ)
การ์ตูนเรื่องนี้ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของชีวิตนักเขียนการ์ตูนมากขึ้นผ่านการเติบโต ของตัวเอกทั้งสองตัวนี้ เพราะการ์ตูนกว่าจะผ่านด่านกองบรรณาธิการและได้พิมพ์ออกไปนั้นก็ ยังต้องวัดว่าเป็นที่นิยมจากผู้อ่านโดนให้ผู้อ่านส่งใบคะแนนกลับมาที่สำนักพิมพ์อีก ถ้าเรื่องไหนดีก็อยู่ต่อถ้าเรื่องไหนที่ที่โหลติดต่อกันนานๆก็จะถูกตัดจบ ฟังดูเป็นเรื่องที่อาจจะโหดร้าย แต่ก็เป็นปกติที่เรื่องไหนไม่ดีก็จะโดนเขี่ยทิ้งไปให้เรื่องใหม่เข้ามา รวมถึงเราจะได้เรืยนรู้ถึงเรื่องพล๊อตการเขียนการ์ตูน (สายหลัก, สายมาร) แนวทางการ์ตูนและการวางเรื่องเพื่อที่จะให้ได้เป็นที่นิยมในแต่ละสัปดาห์ รวมถึงการวาดฉากแต่ละฉาก, มุมมอง, สายตา, การนำเสนอ และที่ชอบที่สุดคือการวาดฉากต่อสู้หรือแข่งขันแบบที่ไม่มีคำพูด ใช้สีหน้าท่าทางของลายเส้นล้วนๆ ถือว่าเป็นการ์ตูนเรื่องนึงที่อิ่ม เพราะมีทุกรสชาดจริงๆ ทั้งรักโรแมนติก ตลก จริงจัง ระทึก ดราม่า เพื่อนรัก และตื่นเต้น และแน่นอนยังสอนให้เราเข้าใจภาษาการ์ตูนได้อีกด้วย
ใน Bakuman ยังพูดถึงเรื่องความฝันมาชิโระ โมริทากะ และ ทาคากิ อาคิโตะอยากจะเป็น และต้องสร้างมันให้ได้ “แม้จะโดนความจริงที่ดีกว่าบดขยี้ ฉันก็จะเก็บซากของตัวเองที่โดนถลุงเละขึ้นมา ไม่ว่าจะพบทางตันสักกี่ครั้ง ฉันก็ยังที่จะก้าวตามฝันต่อไป…” คือท่อนนึงจากเพลงประกอบตอนจบในเวอร์ชั่น animation วันนี้คุณมีฝันที่อยากจะทำมันหรือยังครับ บางทีเราอาจจะรู้ช้าแต่คงไม่สายไปที่จะเริ่มนะครับ
อยากให้ทุกคนได้ลองอ่าน Bakuman ดูจริงๆครับ ถ้าใครที่เคยดูเวร์อชั่น animation มาแล้วก็มาอ่านซ้ำได้ (คิดซ่ะว่าอุดหนุนคนทำการ์ตูนจริงๆนะครับ) เพราะเป็นการ์ตูนที่ว่าด้วยคนวาดการ์ตูน เราอาจจะเข้าใจได้ดีในเวร์อชั่น หนังสือการ์ตูน หรือที่เราเรียกว่า “มังงะ” มากกว่า ที่ดึงเรื่องนี้มาเป็น บทสรุปของการเขียนปิดคอลลั่มในการ์ตูนใน dooddot เพราะ อยากจะให้ทุกคนได้เข้าใจคนวาดการ์ตูน และการ์ตูนในอีกหลายๆด้าน และสนับสนุนเขา ที่เอาชีวิตตัวเองเข้าแรกกับงานเขียนซึ่งผมว่าการ์ตูนเป็นวรรณกรรมชนิดนึงครับ ขอขอบคุณที่ตามอ่านกันมาตลอด 10 เรื่องนะครับ หวังว่าคงมีมากกว่าหนึ่งเรื่องที่ทุกคนไปตามซื้อมาอ่านนะครับ ขอบคุณครับ
(สามารถอ่านเรื่องอื่นๆ ได้ที่ https://www.dooddot.com/tag/cartoon/)
Writer : pobe.m
ข้อมูลอ้างอิง th.wikipedia.org
RECOMMENDED CONTENT
ROKU (โร-คุ) คืออีกหนึ่งคอลเล็กชั่นที่ร่วมงานกับนักออกแบบระดับโลกอย่าง คอนสแตนติน เกอร์ชิค (Konstantin Grcic) โปรดักซ์ดีไซเนอร์ที่มีผลงานร่วมกับแบรนด์มากมาย อย่าง Muji และ Vitra และยังชนะรางวัลงานออกแบบมาแล้วนับไม่ถ้วน