fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

นักออกแบบคนเก่าแก่ของ Apple เผยภาพต้นแบบเครื่องใช้ต่างๆที่พวกเขาเริ่มคิดค้นในยุค 80’s ลองดูกันว่ายังจำได้ไหมว่าอะไรเป็นอะไรในยุคนี้?
date : 8.มิถุนายน.2014 tag :

สิ่งที่ทำให้ Apple ก้าวนำกว่าแบรนด์อื่นๆตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องสมรรถภาพ Gadget ของพวกเขาเท่านั้น แต่จุดสำคัญเลยคือเรื่องของการดีไซน์ ที่ Steve Jobsย้ำนักย้ำหนาว่าเขาเน้นว่าดีไซน์ต้องมาก่อนอะไรทั้งปวง ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ได้เกิดจาก Jobs เพียงคนเดียว หากแต่ร่วมด้วยดีไซน์เนอร์ชั้นครูอย่าง Hartmut Esslinger นักออกแบบชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งแบรนด์ Frog และเคยร่วมงานกับ Sony และ Apple เขาคือตัวแปรสำคัญที่เข้ามาในยุค 80’s (ตอนนั้นท่าทีของ Apple กำลังแย่และดูถ้าจะไปไม่รอด) Esslingerเข้ามาเปลี่ยนให้เครื่องของ Apple เป็นภาพลักษณ์อย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้  กล่าวคือ ตัดสีสันที่ไม่จำเป็นออก ตัดลวดลายที่ดูรก เหลือไว้แต่เพียงสีขาว เขาเล่าถึงการทำงานและขบคิดกับ Steve Jobs ไว้ในหนังสือที่ทำออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว และล่าสุดก็ปล่อยภาพตัวต้นแบบของไอเทมที่เราใช้กันในทุกวันนี้ ถ้าย้อนไปในสมัยนั้นจะเรียกว่า “ล้ำสมัย” ก็คงไม่ผิด ซึ่งเรามีภาพงานออกแบบที่ Apple เคยทำมีทั้ง ถ้าในยุคนี้ก็คงเป็น Tablet หรือ iPad , iPhone, เครื่อง Macbook รวมถึงนาฬิกาข้อมือสุดล้ำมาฝากกันให้บรรดา Apple Fanboy ได้ดูกันด้วย…

You have to improve life, that’s the mission. It’s a big mission. I wasn’t a poet. I wasn’t an artist. My talent was in designing stuff.  -Hartmut Esslinger-

CREDIT: The Verge

RECOMMENDED CONTENT

11.มีนาคม.2022

ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น (Ars Longa Vita Brevis) คือภาษิตของฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ในยุคกรีกโบราณ คนไทยคุ้นเคยวลีนี้จากคำสอนของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย ที่ซึ่งต่อมาลูกศิษย์ของท่านได้นำมาใช้เป็นคำขวัญของมหาวิทยาลัยศิลปากร วลีที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสัจธรรมวลีนี้ยังผุดขึ้นมาในความคิดของ เข้-จุฬญานนท์ ศิริผล หลังจากที่เขามีโอกาสพูดคุยกับผู้ใช้เวสป้า และตระหนักถึงความผูกพันของผู้คนกับความหมายของสกู๊ตเตอร์ที่เป็นมากกว่าพาหนะ เข้จึงเลือกใช้มันมาเป็นชื่อภาพยนตร์สารคดีเรื่องใหม่ของเขา - ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น