Antnest Market ร้านที่รวมตัวของกลุ่มเพื่อน พี่น้อง 6 ที่มีความชอบในเสื้อผ้าวินเทจเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น ‘ไฟว์’ คมปกร ล้อจินดา, ‘เติ้ล’ นัทฐิรัตน์ ปินตาพรม, ‘จุ้ย’ กุลกวี อุสาหะวิริยะกิจ, ‘อิง’ ศิริปัญญา สายัณหัสมิตร, ‘เบนซ์’ นันทชัย คันธสมบูรณ์ และ ‘ต้า’ นันทวัฒน์ ปินตาพรม ซึ่งแต่ละคนเป็นเจ้าของแบรนด์ที่คนในวงการแฟชั่นต่างรู้จักกันดีอยู่แล้ว
ที่นี่พวกเขาใช้เป็นรังในการรวมของในสไตล์อเมริกัน วินเทจ โดยมีจุดร่วมกันคือ ‘กางเกงยีนส์ลีวาย’ พร้อมกับไอเทมอื่นๆ ที่มีกลิ่นอายโมเดิร์น เข้ามาผสมผสานให้มีสไตล์ที่สนุกขึ้น
“ของในร้านจะเป็นอเมริกัน วินเทจอยู่แล้วครับ เสื้อบางอย่างเราก็ไม่สารถบอกที่มาได้ชัดเจน อย่างเสื้อมหาวิทยาลัยบางตัวเก่ามากมาจากปี 1940 – 1950 เราอธิบายได้คร่าวๆ เท่านั้น อาจจะไม่เหมือนเสื้อปี 1980 – 1990 ที่มันถูกบันทึกข้อมูลไว้แล้ว ไม่ว่าจะในหนังสือหรือแม้แต่หนังดังๆ” จุ้ย กุลกวี อุสาหะวิริยะกิจ เล่าถึงของที่เลือกเข้ามาในร้าน
อีกหนึ่งเสน่ห์ของเสื้อผ้าวินเทจอยู่ที่การได้เลือกของ “ผมว่ามันสนุกตั้งแต่เราได้ไปนั่งเลือกของ นั่งดูของ เมื่อก่อนว่าจะได้ของแต่ละชิ้น ผมจะภูมิใจมาก เพราะของมันหายากมาก” จุ้ย กุลกวี บอกว่าสมัยก่อนของหายากจริงๆ กว่าจะเจอตัวที่ถูกใจต้องไปนั่งคัดเสื้อผ้าทั้งวัน
“กางเกงตัวนี้ผลิตช่วงปี 1970 จะเป็นผ้าด้าน เสน่ห์ของกางเกงยุคนี้คือผ้าทอเป็นเส้น ยุต 1980 ช่วงแรกยังเป็นผ้าด้านผสมกับผ้าทราย แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนเป็นผ้าทรายทั้งหมด” จุ้ย กุลกวี บอกว่าเสน่ห์ของกางเกงเหล่านี้มันอยู่ที่ดีเทลต่างๆ และประวัติศาสตร์ที่ทำให้ยิ่งเข้าใจ ก็ยิ่งรัก “ผมชอบเสื้อผ้าวินเทจ เพราะมันไม่เอ้าท์ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย สุดท้ายก็ต้องวนกลับมาอยู่ดี” ส่วนแพทเทิ้ลที่แบรนด์เสื้อผ้าทำกัน ส่วนใหญ่ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเสื้อผ้าวินเทจ สุดท้ายคำว่าวินเทจจะอยู่ตลอดกาล
ในอีกแง่หนึ่ง การซื้อของวินเทจเป็นการลงทุนได้เหมือนกัน “ของพวกนี้ไม่มีราคาลงครับ ผมคิดว่าคนที่เล่นกางเกงยีนส์ลีวายส่วนใหญ่รักษาของเป็น เก็บไว้ในสภาพดีๆ ไม่ว่าจะปีเก่าหรือใหม่ ก็สามารถทำราคาต่อได้”ในร้านมีอีราวที่น่าสนใจ Boy Scouts BSA จุ้ยหยิบมากางให้ดู เป็นเสื้อในยุค 1940 – 1960 “ผมคิดว่าที่คนนิยมมาเล่นเสื้อ Boy Scouts เพราะน่าจะอิ่มตัวจากเสื้อผ้าทหาร” ซึ่งเสื้อผ้าเหล่านี้ก็ทำราคาได้ เพียงแต่ว่าจะอยู่ในมุมมองสไตล์ของใคร
นอกจากนี้ Antnest Market จะมีโปรเจ็ค กับ Sculpture, London Brown และ Club Luminaries ซึ่งการทำงานร่วมกับแบรนด์ต่างๆ ไม่ได้หยิบเอาเสื้อผ้ามือสองไปใช้ แต่เป็นการเอาไอเดียการตัดเย็บของยุคก่อนๆ มาปรับใช้ให้ดูโมเดิร์น
อีกไม่นาน Antnest Market จะย้ายร้านไปอยู่สยามในบ้านหลังเดียวกับ Smile Club ทุกคนได้แวะเข้าไปหากันง่ายขึ้น
Antnest Market
เปิดทุกวันศุกร์ – วันอาทิตย์
เวลา 14.00 น. – 20.00 น.
Facebook – https://www.facebook.com/Antnest-market-103717031767946
RECOMMENDED CONTENT
ภายในงานสุดเอ็กซ์คลูซีฟซึ่งจัดขึ้นที่กลาสเฮาส์ (Glass House) ในมหานครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อูโบลท์ (Hublot) และ ทาคาชิ มุราคามิ (Takashi Murakami) ได้ประกาศโปรเจกต์สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมกันเป็นครั้งที่ 4 ด้วยการเปิดตัวผลงานศิลปะดิจิทัล NFT ใหม่ 13 ชิ้น พร้อมด้วยนาฬิกาที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร 13 เรือน