ถ้าให้นึกถึงชื่อศิลปินหญิงที่ทำงาน Fine Art และมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในบ้านเรา ชื่อแรกๆคงหนีไม่พ้น “ยุรี เกนสาคู” ที่ผลงานของเธอมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น ด้วยลายเส้นตัวการ์ตูนน่ารักแต่แฝงไปด้วยความหมายเสียดสีสังคมอย่างเจ็บปวด เลยเป็นที่มาทำให้เราอยากรู้ว่าตัวตนจริงๆของผู้หญิงคนนี้มีเธอความเป็นมาอย่างไร…
อยู่ในวงการศิลปะมากี่ปีแล้ว?
ก็ถ้านับตั้งแต่เริ่มมาจนถึง Solo Exhibition (Karma Police) ที่ผ่านมาก็ถือเป็นการครบรอบ 10ปีของการทำงานแล้วค่ะ…
ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้วงการศิลปะในไทยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?
ถ้าพูดกันจริงๆ ประเทศเราอย่างที่รู้กัน คือมันมีพื้นที่ค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว แต่ที่ดูชัดเจนขึ้นมากคือช่วงปีหลังๆที่เราเห็นเรื่องแกลอรี่หรือมิวเซียมต่างๆเริ่มมีมากขึ้น… คือศิลปะบ้านเรามีความเคลื่อนไหวกันมากขึ้น อย่างเช่นตอนนี้้เรามีหอศิลป์กรุงเทพกัน หลังจากนั้นมาก็มี MOCA ขึ้นมาอีก แล้วเห็นว่าอีก 2 ปีข้างหน้าคุณเพรช โอสถานุเคราะห์ เค้าก็จะมีมิวเซียมของตัวเองด้วยเหมือนกัน แต่ยังไงพื้นที่ส่วนใหญ่มันก็มีความเป็น Private อยู่ คือมันอาจจะไม่ใช่พื้นที่ของคนรุ่นใหม่ซะทีเดียว ของบ้านเราในช่วงที่ผ่านมาพี่มองว่าการแสดงออกของเด็กๆเลยไปเป็นทางสตรีทอาร์ท หรือเป็นอะไรที่เค้าสามารถเข้าไปทำได้อย่างเป็นอิสระมากกว่า เรามองว่ากระแสสตรีทอาร์ทค่อนข้างแรงมากในปีที่ผ่านมา แล้วโลกเดี๋ยวนี้มันเร็ว… ก็เป็นวิธีการเสนองานของเค้าอีกวิธีหนึ่ง ทั้งในเวปไซต์ ใน Youtube หรือใน Facebook
เข้าสู่วงการได้อย่างไร?
จริงๆของเราคือ เราโชคดีตอนที่จบใหม่ๆมันมีโปรเจคชื่อว่า Brand New เป็นโปรเจคที่ทางมหาวิทยาลัยร่วมกันกับ Space อื่นๆ คิดขึ้นมาเพื่ออยากให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้มีโอกาสทำ Solo Exhibition กัน แล้วเราเองก็เป็นคนนึงที่ถูกคัดเลือกให้ไปแสดงด้วย งานตอนนั้นก็เป็นเพ้นท์ติ้งแท้ๆอย่างเดียวเลย คือเป็นงานไม่มี Object เลยค่ะ แบนๆ เพนต์บน Canvas เลย แล้วก็มี texture เป็นสีน้ำมันหนาๆเลยค่ะ บางอันมีเพนต์บนอะลูมิเนียม ตอนนั้นผลตอบรับดีค่ะ น้ำตาจะไหลเลย (ยิ้ม) คือมันขายดีมากจริงๆ พอดีกับตอนนั้นชีวิตลำบากเพราะพ่อเพิ่งเสียไป แล้วเงินมันหมดไปกับการรักษาพ่อที่ยาวนานถึง 8ปีแล้ว คำว่าทำงาน Art ทำงานศิลปะมันเลยเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะทำเป็นอาชีพหรือหาเงินอะไรได้ แต่พอตอนนั้นเรียนจบแล้วแสดงงานมีคนซื้อ มันก็เลยทำให้เราได้ทำงานต่อ คือถ้าตอนนั้นไม่ได้เงินก้อนนั้นอาจจะต้องไปทำอย่างอื่น เลยเป็นจุดที่เราคิดกับตัวเองว่า “เราก็ทำได้เหมือนกันนี่” งานตอนแรกมันราคาไม่ได้สูง ส่วนใหญ่ที่ซื้อนี่ก็เป็นอาจารย์เขาอยากช่วยเรา ก็เลยได้เงินมาก้อนนึงมาสร้างงานต่อ พอได้แสดงครั้งนั้นก็มีแกลอรี่ 100 ต้นสนนี่แหละที่มาดู แล้วหลังจากนั้นมาเราก็ทำงานด้วยกันจนครบ 10ปีเหมือนกัน 10 ปีที่ผ่านมาของเรามันก็จะมีทั้งงานที่แสดงเดี่ยวแบบเป็น Solo Exhibition และก็มีเป็นกลุ่ม Group Exhibition ที่เร็วๆนี้ก็อย่างเช่น Residency Program ที่ไปญี่ปุ่นเราก็ไปเดือนครึ่ง คือมันจะมีเข้ามาเรื่อยๆค่ะ คงเป็นโชคดีล่ะมั้งค่ะที่ทำงานตัวเองออกมาแล้วมีคนซื้อ (ยิ้ม) เพราะถ้าให้เราไปเดาใจคนอื่นก็คงทำไมได้
เริ่มสนใจงานศิลปะตั้งแต่เมื่อไหร่?
ถ้าชอบงานศิลปะจริงๆ ก็ชอบตั้งแต่เด็กๆแล้วล่ะค่ะ ตอนเด็กๆเราชอบละบายสี เด็กคนอื่นเค้าอาจจะเล่นของเล่น แต่เราชอบวาดชอบละบายสี แล้วตอนมหาวิทยาลัยเราเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะศิลปกรรมศาสตร์ อยู่ที่นั่นเราก็ได้เลือกเรียนวิชาที่มันเป็น Interior หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้เราได้วาดรูป
พวกการใช้ตัวการ์ตูนในงานเราได้แรงบันดาลใจมาจากไหน?
เรื่องการ์ตูนก็เหมือนเด็กๆที่ชอบการ์ตูนทั่วไปนั่นล่ะค่ะ ก็ชอบตั้งแต่อาลาเร่ ดราก้อนบอล แต่ส่วนตัวเราเป็นคนชอบดูอนิเมชั่น เราชอบพวกการ์ตูน Ghibli เราดูทุกเรื่องเลย ที่ชอบมากที่สุดก็เรื่อง Spirited Away ชอบไอ้ตัวหัวใช้เท้าตัวใหญ่ๆอะค่ะ (หัวเราะ) แต่จริงๆของค่ายนี้เขาดีทุกเรื่องล่ะค่ะ ส่วนพวกงาน Paint ระดับ Master ทั้งหลายก็ชอบรวมๆกันระหว่างสาย Design กับสายไฟน์อาร์ท อย่างตอนเรียน Painting เราก็ชอบพวกปิกัสโซ่ เซซาน พอโตมามันเหมือนเป็นการเอาความชอบหลายอย่างมารวมกัน
มีวิธีเอาความสนใจที่มีมารวมกันยังไง?
เรามองว่าการรวมกันต้องไม่หนักไปอันไหนอันหนึ่งมากเกินไป คือปัญหาของคนหลายคนนะ คือมันจะคล้ายๆหรือไปเหมือนเค้ามากเกิน งานมันเลยออกมาเหมือนเป็นงานก๊อบปี้ แต่สำหรับเราพอเรารู้ตัวแล้วว่าเริ่มจะไปเหมือนอันไหนเกิน เราก็จะเริ่มไม่เอาแล้ว คือต้องใช้ให้น้อยมาก เหมือนเราต้องค่อยๆหยิบมาทีละนิด ถ้าไปเอามาหมดมันก็จะเสียไป
แล้วคาแรคเตอร์ตัวการ์ตูนแต่ละตัวมีชื่อของตัวเองมั้ย?
ของเรายังไม่มีนะ (หัวเราะ) เพราะสมมุติเราวาดตัวเราเองในแต่ละงานมันยังไม่เหมือนกันเลย บางทีเราก็วาดตัวเองผมยาวบ้าง ผมสั้นบ้าง บางทีก็ผมดำบางทีก็ผมสี คือเราเป็นคนไม่มีคาแรคเตอร์ประจำที่มันตายตัว ส่วนใหญ่ตัวละครที่ปรากฎในงานของเราแต่ละตัว มันแทนมาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเราในช่วงนั้นๆ
ถ้าให้นิยามงานของตัวเอง?
ถ้าเอาหลักๆงานของเราพื้นฐานก็คือ Painting แต่งานที่ออกมามันมีความหลากหลายเพราะเราเป็นคนชอบทำงานอะไรก็ได้ ขออย่างเดียวให้มันมีพื้นฐานของ Painting อยู่ก็พอ ถ้ามีใครอยากให้ทำอะไรแล้วมันมีความน่าสนใจก็จะลองทำ อย่างตอนพี่เมธี (มือกีตาร์วง Moderndog) อยากให้ลองทำ MV ของ Pry & May-T Project ที่เป็นอนิเมชั่นให้ก็ลองทำ หรือบางทีมีคนอยากให้ไปทำงานด้าน Design ก็ทำ คือเรามองว่าทุกครั้งที่เราไปทำงานสายอื่นๆมันเหมือนทำให้เราฝึกโจทย์ใหม่อยู่เรื่อยๆ แล้วผลสุดท้ายพอทั้งหมดมันกลับมาที่งาน Painting ที่เป็นงานหลักของเรา มันทำให้งานดีขึ้น ถ้าสังเกตจะเห็นว่างานช่วงหลังๆมานี้มันมีความเป็นกราฟฟิกสูงมาก เพราะเราได้ไปทำสตรีทอาร์ทมามันสนุกดี จนตอนนี้บางคนมองว่ายุรีเป็นศิลปิน Street Art เพราะเราทำงานสายนั้นออกมาเยอะ แต่เราไม่เคยมองว่าตัวเองทำเต็มตัว ส่วนใหญ่จะเลือกว่าอยากทำอะไรกับใครเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น
เวลาเราต้องทำงานศิลปะในแขนงอื่นๆ เรามีวิธีเรียนรู้ปรับตัวอย่างไร?
จริงๆมันต้องพยายามล่ะ สิ่งที่เรามีคือเราว่าเราเป็นคนอดทนกัดฟัน เราเหมือนป็นคนกัดไม่ปล่อยอะไรอย่างนี้ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องทำให้ได้ คือเราจะทำให้เต็มที่ที่สุดแหละ …แต่ว่าไม่รู้ว่าจะดีรึเปล่านะ (หัวเราะ) เพราะการมีคนเข้ามามันเหมือนเป็นการบังคับตัวเอง เหมือนกับคำมั่นสัญญาหน่อยๆว่ามันจะต้องทำให้ออกมาดีด้วย ไม่ใช่ทำลอยๆเหมือนทำงานตัวเอง
มีวิธีเลือกทำงานกับคนอื่นยังไง?
เรามองว่าเราเลือกทำโปรเจคต์รวมที่เรามีความสนใจ บางทีเราก็ไม่ได้รู้จักกับคนที่ร่วมโปรเจคต์นั้นเป็นการส่วนตัวนะ เราจะดูแค่ว่ามันเป็นงานยังไง ทำกับ Space นี้เราอยากไปมั้ย เราอยากทำงานกับเค้ามั้ย หรือโปรเจคที่เค้าทำมันน่าสนใจมั้ย แต่ท้ายที่สุดถ้าเป็นกลุ่มบางทีมันก็อาจจะต้องเป็นฝั่งเค้าเองที่เลือกเหมือนกันว่าคนที่เค้าเชิญจะมีใครบ้าง
อย่างงานอัลบั้ม “Pry & May-T Project Re Creation Part” ที่เราเขียนถึงสมาชิกในวงค่ะ คนนี้เป็นตัวนั้นตัวนี้แต่พี่พรายเค้ามีคาแรคเตอร์เค้าอยู่แล้ว ชุดนี้เราพูดเรื่องศาสนา เราเปรียบศาสนาเป็นเหมือนปอด (ปกด้านใน) ปอดก็เหมือนต้นไม้ แล้วก็เอาไวน์แดงมาเขียน background มี อดัมกับอีฟ ส่วนภาพหน้าปกพี่เมธีบอกว่างานดนตรีสมัยนี้มันเหมือนการล่องเรือด้วยความยากลำบาก เรือลำนี้มันจึงจะจมก็ไม่จมแหล่ แถมแล่นไปด้วยการช่วยเหลือของนกที่บินก็บินไม่ได้ มีทั้งเป็ด ไก่ นกยูง นกกระจอกเทศ เพนกวิ้นพวกนี้มันบินไม่ได้ มันเป็นความไม่แน่นอน บางคนที่ตกเรือเพราะอาจจะโบราณหรือป๊อปเกินไป เป้าหมายของเรือลำนี้คือต้องการแล่นไปโลกใหม่ที่มีไข่ มีหน่อไม้ เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น มีหมูบินได้ของ Pink Floyd ด้วย… ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามาไง (หัวเราะ) คือวงนี้ส่วนตัวเราชอบพวกเขาตรงที่เขาสามารถลิงค์งานเพลงกับงานอนิเมชั่นในคอนเสิร์ตชุด The Wall เราชอบพวกเพลงที่มันมีอนิเมชั่น อย่าง Yellow Submarine ของ The Beatles เราก็ดูบ่อย อันนั้นอะเจ๋งมากๆ
ในการเป็นศิลปินอาชีพ ตำแหน่ง Curator สำคัญยังไง?
จริงๆการทำงานของ Curator มีหลายอย่างค่ะ บางคนเค้าเลือกเราไปเพื่อจัดแสดงเดี่ยว Solo Exhibition เค้าก็จะไม่ได้เข้ามามีบทบาทในเชิงไอเดีย แต่อาจจะมีการปรึกษากับเราตอนหลังเพราะเขาจะเป็นคนที่เขียนตัว Text ให้ สรุปคือเขาก็ต้องมีความชอบงานเราและก็พยายามเข้าใจมันให้ได้ แต่ถ้าเป็นการแสดงเป็นกลุ่มเมื่อไหร่เนี่ย การทำงานมันจะเปลี่ยน เพราะกลุ่มมันจะมี Theme มี Concept หลักที่ทุกคนต้องทำครอบเอาไว้ หลักๆ curator ก็เลยมี 2 แบบ คือให้สร้างงานใหม่เลย หรือไม่ก็เลือกที่เรามีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองบ้านเราทุกวันนี้ Curator อาจจะยังไม่ค่อยเยอะมากด้วยล่ะค่ะ คือถ้ามีความหลากหลายมันก็จะทำให้คนที่ทำงานออกมาได้ไปหลายที่ ถ้า Curator มีจำนวนน้อยนั่นแปลว่าเค้าก็จะคัดแต่งานที่มันอยู่ในกระแส ตรงนี้มันเลยเป็นจุดอ่อนศิลปะบ้านเรา กลายเป็นว่ามันจะมีลักษณะงานบางประเภทเท่านั้นที่ถูกเลือกตลอดเวลา แต่บางอันที่ไม่ถูกเลือกโดนดูว่าเชยทั้งๆที่จริงๆมันอาจจะไม่เชยเลยก็ได้ มันมีอยู่ช่วงนึงที่คนส่วนใหญ่คิดว่างาน Paint มันเชย เพราะโลกมีพวกงาน Conceptual , งาน Installation หรืองาน Video ที่มันอยู่ในกระแสกัน ไม่รู้เพราะ Painting มันดูไม่สนุกหรือยังไง (หัวเราะ) แต่จริงๆเราว่า Painting มันก็สนุกได้อยู่นะ.
สไตล์ของงานที่คิดว่าเป็นตัวเอง?
เราชอบวาดอะไรที่มันมีหลายๆอย่างมารวมกัน อย่างโลโก้โมเดิร์นด็อกอะค่ะ (อัลบั้มล่าสุด) ถ้ามองผ่านๆก็จะเห็นว่ามันเป็นตัวขนๆเหลืองๆ แต่คือในนั้นมันจะมีเรื่องของมันอยู่ทั้งๆที่มันเป็นแค่ตัวอักษร 2ตัว อ่ะไหนๆก็เล่าแล้วเอามาดูกันเลยดีกว่า… (ยิ้มแล้วหยิบสมุดในกระเป๋า) อย่างนี้ล่ะค่ะ หนึ่งก็คือเราคิดให้มันมีขนเหมือนเป็นหมา สองคือในวงพี่ๆเค้ามีกัน 3คน คือมีหูมีเท้าแล้วก็ลิ้น ลิ้นอาจจะแทนความเป็นนักร้องก็คือพี่ป๊อดที่เป็นคนร้อง เท้าก็เป็นพี่โป้งที่ตีกลอง หูก็อาจจะไม่ได้ตรงเป๊ะว่าให้้เป็นพี่เมธี (หัวเราะ) แล้วตัวนี้มันมีความเป็นเพศชาย คืองานของเราจะไม่ได้เขียนออกมาเฉยๆ มันจะมีเรื่องมี Detail แอบอยู่นิดนึง เราคิดว่าตรงนี้แหละที่น่าจะเป็นสไตล์ของเรา เวลาดูงานมันจะเห็นออกมาเลย
ตั้งใจมั้ยว่าอยากให้คนดูเห็นอะไรจากงาน?
เราว่ามันเป็นประสบการณ์ร่วมนะ เพราะแต่ละเรื่องเราคิดว่ามันเรื่องใกล้ตัวสุดๆเลย แล้วเราชอบเขียนเรื่องแย่ให้ออกมาสวย… ในที่นี้หมายถึงว่า “สีสวย” นะ คือเขียนออกมากลายเป็นการ์ตูนสีน่ารักอะไรอย่างนี้ เรามองว่ามันเหมือนกันเวลาที่เรามองโลก ถ้าเราไม่เปลี่ยนให้มันน่ารักมันก็จะยิ่งดำดิ่งแย่ไปกว่าเดิม เรามองว่าตรงนั้นเป็นจุดดีนะ อย่างน้อยคือดีต่อตัวเราแหละ ถ้าเรามองเรื่องช่างทำบ้านที่โกงด้วยความเกลียด เราก็คงเกลียดช่างคนนั้นไปจนตาย แต่ว่าทุกวันนี้เรามองแล้วเราเปลี่ยนเป็นเจ้ารูปหมูตะกละกำลังกินไม้ซุงกินไม้หมอนอยู่… ซึ่งหมูนั่นก็คือช่างเลยล่ะ! (ยิ้ม) เรามองว่าสิ่งที่เราเขียนมันพลิกเป็นกลายเป็นความน่ารักความตลกไปแล้ว มันเลยทำให้เราไม่โกธรเค้าอีกต่อไป คือถ้ามองแค่วัดจากตัวเรา อย่างแรกคือมันดูแล้วมันดีขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น
งานของยุรีชอบที่จะพูดเรื่องสังคม?
คงเป็นเพราะงานเราชอบพูดเรื่องความเปลี่ยนแปลง ความไม่จีรังยั่งยืน พวกเรื่องความสัมพันธ์อะไรอย่างนี้ล่ะค่ะ แต่ว่ามันจะเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาที่เรามีสมาธิกับมัน คือตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สมมุติมีงานนึงตอนแรกเราวาดรูปแล้วเหงื่อท่วมตัว เราก็เลยทำออกมาเป็นงานชุด “สวีตแหววกับคุณพัดลม” เพราะตอนนั้นเราขาดพัดลมไม่ได้ ส่วนใหญ่มันมักเป็นเรื่องที่กำลังมีผลต่อชีวิตเรานั่นล่ะ ชุด Karma Police ที่ผ่านมาก็เลยเกี่ยวกับเรื่องทำบ้านนั่นล่ะ (หัวเราะ) คือพูดถึงสิ่งที่ทำลงไปมันมีผลต่อสิ่งที่จะเกิดต่อมาเสมอๆ เรามองว่างานเราจะไม่แยกกันกับชีวิต การเขียนรูปสำหรับเรามันเหมือนกับการจดบันทึกเพียงแต่เป็นบันทึกที่จดด้วยภาพ เรื่องที่บันทึกส่วนใหญ่เลยมักเป็นสิ่งที่มีผลกับเรามากๆ บางทีชอบมีคนมาถามว่า “ยุรีไม่ค่อยมีความสุขกับชีวิตเหรอ?” (หัวเราะ) เพราะเขาเห็นเราเขียนแต่เรื่องโหดๆหรือเรื่องไม่ค่อยดี แต่ส่วนตัวเรารู้สึกว่าเขียนเรื่องแบบนี้ล่ะมันถึงจะสะท้อน มันถึงจะอยู่กับเรานาน เพราะว่ามันเจ็บ
มีวิธีในการเลือกใช้ Material ในการสร้างงานอย่างไร?
อีกเรื่องนึงที่จะดูรู้ว่าเป็นงานของเราเลยคือ เราชอบทำงานที่มีหลายวัสดุอุปกรณ์นี่แหละ แล้วความชอบตรงนี้มันทำให้เราเห็นของทุกอย่างเป็นของเล่น เวลาสร้างงานสำหรับเรามันก็เลยเหมือนมีของเล่นเต็มไปหมด อย่างชุดก่อนหน้านี้ มันจะมีชิ้นที่มีม่าน อันนั้นคือเราใช้ม่านเพราะ “ม่าน” มันมี Concept ที่เราคิดถึงมัน เรามองว่าความเป็นม่านมันมีหลายความหมาย หนึ่งคือเหมือนประสบการณ์เก่าในอดีตที่เรามองผ่านม่านแล้วมันเบลอ เพราะบางทีเราเขียนเราเขียนถึงความทรงจำ เราเขียนถึงเรื่องพ่อที่เสียไป บางอันเราก็มองว่ามันเป็นคล้ายๆสเตจเวทีที่เรามองเรื่องคนอื่น หรือการที่มองสิ่งภายนอก พวกเรื่องการเมืองหรือะไรแบบนี้ที่ถ้าเราไม่อยากดูเราก็ปิดม่านก็ได้ เหมือนเรื่องบางเรื่องที่เราไม่อยากให้แม่รู้เราก็ปิดม่าน
มีอะไรที่อยากทำแล้วยังไม่ได้ทำ?
ถ้าตอนนี้เหรอ… ตอนนี้ที่อยากทำ เรายังไม่ได้ทำ sculpture เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเซลามิกหรืออะไรก็ได้ค่ะที่เป็นสามมิติ พวกนี้ล่ะยังไม่ได้ทำเลย
สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเป็นศิลปิน?
ก็คงเปลี่ยนเรื่องวินัยล่ะค่ะ การทำงานหนักเพราะเราอาจจะไม่ได้มีที่ทำงานที่เราต้องเข้าประจำทุกวัน แต่เราก็ต้องทำงานและต้องทำให้หนักเหมือนเดิม ทุกวันนี้บางทีทำงานเสร็จเราเองก็โคตรขี้เกียจเลย (หัวเราะ) แต่ยังไงก็ต้องรักษามัน… รักษาวินัยไว้ วินัยนี่ยากที่สุดแล้วล่ะค่ะเพราะว่าเวลาตื่นนอนเราก็อยากนอนต่อดีกว่ามั้ย? เพราะบางทีมันก็มีช่วงเหนื่อยมากๆ
แล้วถ้านอกจากเรื่องศิลปะเราใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง?
ปกติแล้วก็ชอบดูหนังนะ ส่วนใหญ่ถ้าว่างก็จะหาเวลาไปดูหนังเลย แต่ช่วงหลังๆมานี้ก็เริ่มมีออกไปตีแบท ถ้ามีเวลาพักยาวๆก็พยาพยามออกเดินทางบ้าง แต่เอาหลักๆแล้วก็คงทำงานเกือบทุกวันล่ะค่ะ ยิ่งถ้าช่วงไหนกำลังจะมี Solo Exhibition มันก็จะโหดมากๆ เพราะมันต้องมีเรื่องเดทไลน์มากำหนดด้วย ปีที่ผ่านมานี้เลยถือว่าเป็นปีที่หนักมาก เพราะว่าเรามี Solo Exhibition ที่สิงค์โปร , มีงาน Bukruk Street art , มีจัดแสดงที่ Hong Kong Art Basel แล้วก็มาจบที่ Exhibition Karma Police ครบรอบ 10ปีทีเพิ่งผ่านมา
แล้วช่วงนี้มีความสนใจอะไรเป็นพิเศษบ้าง?
ตอนนี้หลักๆเลยก็คือทำบ้านค่ะ สมาธิเลยไปอยู่กับบ้านเยอะ ซึ่งบ้านที่ทำอยู่นี่ก็คือสตูดิโอนี่แหละ แล้วจริงๆมันควรจะเสร็จนานแล้ว แต่ดันโดนช่างเขาโกงไป (หัวเราะ) ตอนนี้ก็เลยพยายามทำต่อให้เสร็จภายในต้นปี
บ้านที่คิดเอาไว้อยากให้ออกมาเป็นอย่างไร?
บ้านที่คิดเอาไว้เหรอ… (ยิ้ม) ก็อยากให้มันออกมาดูบ้าๆบอๆ คือไม่จำเป็นต้องมีของแพงๆตกแต่งก็ได้ อยากจะใช้ของที่เพ้นท์นู่นเพ้นท์นี่นั่นล่ะ หรืออาจจะเป็นของที่เราชอบโดยที่เราไม่ได้เลือกเจาะจงว่าต้องเป็นยี่ห้อดังอะไรอย่างนี้ ก็ตอนนี้พื้นห้องนอนก็เป็นลายก้อนเมฆ เต็มไปหมดเลยค่ะ (หัวเราะ) แต่มันยังเป็นลายร่างๆอยู่เลยนะ ส่วนประตูสวนเราก็บอกช่างเขาให้เจาะเป็นหน้าตัวบีเวอร์ เพราะเราว่าเหมือนพี่เมธีดี
มีแผนที่ตั้งเป้าไว้ในอนาคตไหมว่าจะมีผลงานและการเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป?
(หัวเราะ) ก็คงจะเป็นทำไปเรื่อยๆล่ะค่ะ ก็ตั้งใจทำงานศิลปะออกมาเรื่อยๆ (ยิ้ม)
________________________________________________________________________________
If you have to come up with a name of a Thai young blood fine art artist, who always produced new body of artwork and have significant movement in the art industry today, we’re sure you would come up with the name, “Yuree Kensaku”. She may be, as you would call her, petite, but her artwork speaks louder than anything else, with large scale canvases full of cute cartoon characters. However, behind those imageries are full of crude satires that are expressed through the use of bold and powerful colors. This makes us wonder what kind of an artist Yuree really is.
How long have you been in the art industry?
If you count right from the beginning until my Karma Police solo exhibition, I think it marks my 10th anniversary in this industry.
How has the art industry in Thailand changed from the beginning until now?
To be honest, as we all know, our country is not that open to the arts. But over the past recent years I’ve noticed that art galleries and museums are starting to pop up more and more. I think it’s because there are more art movements nowadays. For example, now we have the Bangkok Art & Culture Center (BACC), after that there’s MOCA, and I heard that two years from now Mr. Petch Osathanugrah will also open his own museum. However, most of the art spaces here are private, and many young artists feel that they are not the right platform for them. That’s why I see most Thai young artists are moving more toward to street art, or anywhere that make them feel flexible to express themselves. I also view street art as a very big trend this year. There’s also the social media like Youtube and Facebook that has become an important platform for these kids to showcase what they got.
How did you enter the art industry?
I consider myself to be very fortunate, because when I just graduated from university, my university with the collaboration of other art spaces, came up with this project called “Brand New” which opened doors for young artists to get the chance to have their own solo exhibitions. I was one of the selected ones to have a solo exhibition. My work at the time was all done as paintings on canvases, it didn’t have any special object or anything, just thick oil paints as the main texture. Some of my paintings were done on aluminium as well. I got such great feedback on my work, I thought I could cry! I sold a lot of my paintings too. But around that time my father just passed away, so most of the money I got before, I spent it all on my father’s treatment, which lasted for about 8 years. I first thought that having a career in art or as an artist would never work out, but when I could sell my artwork from that solo exhibition, I could still continue down this path. I mean, if I didn’t get that sum of money, I probably would have to find another career. So from that point, it made me realized, “hey, I can do this”. Of course I didn’t earn a lot of money when I first started working as an artist. Most of the people who bought my work were my teachers who wanted to help. After that solo exhibition, I was discovered by 100 Tonson Gallery, and after that I worked with them for 10 years. So for the past 10 years, I had both solo and group exhibitions. Recently I also went to Japan for a month for the Residency Program, so basically I always have work coming in. I guess I’m quite lucky to be able to create something of my own and people like it enough to buy.
When did you start to have an interest in art?
I have to say since I was a little girl. I liked to draw and color the drawings while other kids played with their toys. When I got into Bangkok University, I majored in Fine Arts and chose to take classes that are related to interior design or any subject that would allow me to draw.
Where did you get your inspirations from in using cartoon characters in your work?
I guess I’m just like any kid who likes to watch cartoons. From Dr. Slump & Arale to Dragon Ball, but personally I like to watch animation. I watched every cartoon animation from Studio Ghibli, and my favorite is “Spirited Away”. I love that big, white radish character! (laugh) Actually all their cartoon animations are great. As for those master paintings, I like the ones that are more toward the design and fine art fields. When I studied painting in university, I liked Picasso and Paul Cézanne, but as I get older I combine the things I like into my artwork.
Do you have any method or ways in combining the things you like into your work?
In combining the things together, I see it as something that should be well balanced. A lot of artists face this sort of problem; sometimes their work look similar or look too much alike the original that as a result, their artwork is like a copy. But for me, when I realized that my work looks too much alike the other artist’s work, I would just stop what I’m doing. I think we should use what we like bit by bit, if we use everything then our work wouldn’t be as great.
Do your cartoon characters have names?
Nope (laugh). Because each time I draw my cartoon character, it doesn’t even look the same. Sometimes it has long hair, short hair, sometimes the hair is black, sometimes the hair is in other color. My character is not fixed. Most of the characters that appear in my work represent the events that happened in my life at the time.
What defines you as an artist?
My foundation is painting, but since I can work in different mediums, my work now has different styles to it. But the most important thing to me is that my work still needs to have the foundation of painting. If anyone asks me to work on projects and I find it interesting, then I’m happy to try them out. Like when Maytee (guitarist of Thai alternative rock band, Moderndog) asked me to create a music video in animation, I also did it, or sometimes I got asked to work on designing stuff, I tried it out. Everytime I had to work on other different fields, I see it as an opportunity for me to practice and grow as an artist. I gather what I learnt and adapt it to my artwork to make it better. You can see that recently my work has become a lot more graphic, because I had the chance to work in street art, which I really enjoyed. Until now, some people sees Yuree as a street artist because I produced a lot of those work recently. But I never view myself as a street artist though. Mostly I would choose what I want to work on and with who I want to work with.
[vsw id=”gNVSz_iKhT8″ source=”youtube” width=”650″ height=”430″ autoplay=”no”]
How do you adapt yourself when working in other art related fields?
Actually I have to try hard. I have a lot of patience and endurance, and I won’t let things go easily. Even if I can’t do something, I still have to get it done no matter what. I do everything to the fullest…although sometimes I’m not sure if I’ll get good results (laugh). When there are people involved, I have to even force myself to get through it. It’s like I have given them a promise that I will get it done with good results, not just do it any way I want like my own work.
How do you choose to work with other people?
I chose to work on projects that I’m interested in. Sometimes I don’t know the people I collaborated with personally. I’ll only see what kind of work it is, is it the art space I would want to go, do I want to work with them, and whether the project is interesting to me. But in the end, if it’s a group project, sometimes it is up to their side who they want to work with.
For instance, like the album “Pry & May-T Project Recreation Part” that I drew all the band members as different animals, except Pry, because he already has his own unique character. For this album artwork, I talked about religion. I compared religion to the lungs, where lungs are like trees. I painted the background with red wine, you can also see that there’s Adam and Eve. As for the front cover, Maytee said that making music nowadays is like sailing on a boat full of obstacles along the journey. This boat is about to drown anytime, sailing across the sea with the help of birds that can’t fly, from ducks, to chickens, to peacocks, to ostriches, to penguins. Everything is uncertain. Some fell off the boat because they are too old fashioned or too pop. The destination for this boat is to sail off into the new world that has eggs and bamboo shoots as symbols for the new beginning. There’s also the flying pig from Pink Floyd…I don’t know why it’s there (laugh). Personally I really like this band because they can link their music to cartoon animations like their concert “The Wall”. I like songs that have animations, like Yellow Submarine by The Beatles, that, I also watched a lot of times. I think it’s great.
As a professional artist, how do you work with curators?
Actually, there are many different things a curator has to do. Some who choose me to have a solo exhibition won’t really take part in coming up with ideas, but they would discuss with me about it afterwards because they would write down the texts for me. This means that they had to have some interests in my work from the start, and try to understand what my work is about. But if it’s a group exhibition, then how things work will be different. There will be a theme or a concept as a whole for the exhibition, so the curator would either ask us to create a new artwork, or choose the work we already have. However, there are still not a lot of curators in the Thai art industry today. If there are many curators then there will be more places for artists to showcase their work. But if there are only a few curators out there, then it means that they would only select the artwork that are in trend. This is considered to be the weakest point in our art industry. There will be only a certain type of artwork that would always get chosen, while the ones that are not selected would be viewed as old fashioned, when in fact, it might not be old fashioned. There was a time when most people viewed paintings as old fashioned, because there’s the conceptual art, the installations, and the videos that are in trend. I don’t know if it’s because paintings don’t seem to look fun or what (laugh), but I really do think that paintings can be fun.
What style of work do you think best defines you?
I like to draw things that have different elements combined together. For example, the logo for Moderndog from their newest album, if you only see it once, you would only see it as this yellow, hairy thing. But if you look more closely, there’s a story behind it even if it’s only two alphabets put together. Okay, since I already talked about it, let me show it to you guys (smiles, and takes out a notebook from her bag). First, I made it hairy to represent a dog, second, there are three band members, which are symbolized as the ear, foot, and tongue. The tongue may represent Pod as the lead singer, foot to represent Pong as the drummer, and the ear to represent Maytee. This logo also has a masculine feel to it. So my work would always have a story and details behind it, which I think is my style as an artist. When you see my work, it will show.
Do you have any intentions on what you want people to see in your work?
I think it is a shared experience, because each artwork portrays everyday life situations. I also like to paint bad situations to look pretty, as in “pretty colors”, where it turns out to be cute and have colorful cartoon characters. I think it’s the same as how we see the world. If we don’t change what we see into something nice, then it’ll only go downhill from there. I think that’s the good point, at least good for me. If I view the house worker who took away my money with full of hate, then I would probably hate him until the day I die. But now I made him look like this big, fat, greedy pig who is eating big chunks of wood and worms. From my point of view, I have turned what I painted into something that is funny and cute, therefore making me stop being angry at him. In my opinion, most of my work makes me feel better afterwards.
So you like to talk about the society in your work?
I think it’s because I like to talk about changes, about how things cannot last forever, about relationships, etc. but it depends on what I am focusing at the time, and my surrounding environment. For example, there was one work where I was drawing and I began to sweat so much, which later I took that idea and made it into a series called “Sweet with Mr. Fan”, because at the time I cannot work unless I have a fan close to me. Most of the time my artwork talks about the things that have an effect on my life. The “Karmar Police” exhibition was also about the house worker (laugh). I see my artwork as something that cannot be separated from my everyday life. Creating an artwork for me is like writing a diary, only I do it through paintings. Therefore, mostly the events and situations I painted have a direct effect on me. Some people like to ask me, “Yuree, are you not very happy with your life?” (laugh) because they always see me paint depressing and unhappy things. But personally, I think that by painting these stories, it will reflect clearly through my work and be there with me for a long time, because it hurts.
How do you choose your materials when you create your work?
Another thing that can be seen as unique about my work is that, I like to work with a lot of different materials. These materials for me are like toys, so when I create an artwork, it’s like I have so many toys to play around with. One of my previous artwork has a curtain. I chose to use a curtain because I view it as having many concepts and meanings behind it. Firstly, it’s like looking back to your past experiences through the curtain, and you get a blurred vision, because sometimes when I paint, I paint about old memories, I paint about my father who passed away. Sometimes I view it as a stage showing other people’s lives, or looking out to the outside world like those political problems, or anything that you feel like you don’t want to see. Then you can just close the curtain.
Is there anything else you want to do, but doesn’t have the chance to do it yet?
I have never done sculptures for my artwork, or anything that is in ceramics or 3D. Those I haven’t done yet.
What is the hardest part in being an artist?
I think having a good discipline. I still have to try to work hard even though I may not have an office I have to go to everyday. Nowadays, sometimes when I finished work, I become so damn lazy (laugh). But I still have to keep my discipline…I think keeping a good discipline is the hardest. When I wake up in the morning, I would want to go back to sleep, since there are days where I am very tired.
So besides being an artist, how do you spend your day-to-day life?
Mostly I like to watch films. If I have any free time, I would definitely see a film. But recently, I have just started playing badminton, and if I have a long break, I would try to travel. But most of the time, I work almost everyday, especially if I have a solo exhibition coming up. I would be super busy because I have to deal with the deadlines, etc. The past year is considered to be quite a tough year for me, because I had my solo exhibitions in Singapore, at Bukruk Street Art Festival, at Hong Kong Art Basel, and the Karma Police exhibition which marked my 10 year anniversary in the art industry.
Do you have any special interests right now?
Right now my house is being built, so I mainly focus about my house, which is actually a studio. It should have been completed a long time ago, but I got cheated by the house worker (laugh), so right now I’m trying to get it all finished by early next year.
How do you want your house to look in the end?
I want it to look crazy and silly, and it doesn’t have to have any expensive furniture. I want to use products that are hand painted, or anything that I have a special liking that doesn’t have to be from famous brands. Right now my bedroom is full of cloud drawings (laugh), but they’re still rough sketches though. For the door in my garden, I asked the technician to drill in the shape of a beaver’s face, because I think it looks similar to Maytee’s face.
Do you have any plans for your next project or art movement in the future?
(laugh) I guess I will just continue doing art, which is what I love.
Interview : Norrarit Homrungsarid
Photographer : CHAIYASITH JUNJUERDEE
Translator : Thip S. Selley
ขอบคุณ RMA Institute สำหรับสถานที่สัมภาษณ์และถ่ายทำ
RECOMMENDED CONTENT
“Epic Worlds” โปรเจ็กต์ภาพยนตร์สั้นสุดพิเศษซึ่งถ่ายทำด้วย Galaxy S23 Ultra สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการสร้างคอนเทนต์โดยใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งการถ่ายทำผ่านขั้นตอนการระดมทุนจากมวลชนก่อนจะนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันและเผยแพร่สู่สาธารณะ โดย “Epic Worlds” เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงพลังของการทำงานร่วมกัน