นี่คือภาพของผีนป่าแอมะซอนซึ่งในประเทศบราซิล ที่เป็นป่าฝนเขตร้อนผืนใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และนับเป็นปอดของโลกในปัจจุบัน ที่เป็นข่าวที่ไม่สู้ดีนักที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับข่าวธารน้ำแข็งอกโยคูลล์ ในไอซ์แลนด์เป็นที่แรกที่ละลายหมดสิ้น
สถาบันวิจัยด้านอวกาศแห่งชาติบราซิล (ไอเอ็นพีอี) เปิดเผยว่าข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าปริมาณการเกิดไฟป่าในแอมะซอนเพิ่มขึ้นถึง 83% จากปีที่แล้ว และตรวจพบการเกิดไฟป่าในป่าแอมะซอนมากถึง 72,000 จุด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา และในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ระหว่างวันที่ 15-21 ส.ค. เกิดไฟป่ามากถึง 9,500 ครั้ง
โดยที่หนึ่งในสาเหตุหลักก็คือฝีมือมนุษย์ที่จุดไฟเผาป่าให้หญ้าระบัดใบเพื่อนำปศุสัตว์มาเลี้ยง นอกจากเหตุผลจากเรื่องฤดูแล้ง
และประธานาธิบดีโบลโซนาโร นั้นกำลังถูกสื่อทั่วโลกวิจารณ์อย่างหนัก จากการที่ไม่เห็นด้วยกับการลงโทษที่เข้มงวด ของผู้ที่เป็นต้นเหตุในการเผาป่า ซึ่งส่งผลให้การปราบปรามการทำไม้และการจับกุมผู้ก่ออาชญากรรมต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉาะผืนป่าแอมะซอนเป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน
ปัจจุบัน เหตุการไฟไหม้ป่าแอมะซอน นั้นเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ แล้ว โดยที่สื่อทั่วโลก และผู้คนมากมายนั้นช่วยกัน #PrayforAmazonas เพื่อเป็นการกดดัน รัฐบาลประเทศบราซิล ให้มีมาตรการ อย่างเร่งด่วน
RECOMMENDED CONTENT
หลายสื่อยกให้ ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น เป็น ‘นัก […]