fbpx

CONTACT US

Leica M for (RED) กล้องรุ่นพิเศษจากสุดยอดแบรนด์ Leica ประเทศเยอรมัน ที่ได้สองนักออกแบบแห่งยุค Jonathan Ive จาก Apple และ Marc Newson มาร่วมกันออกแบบ
date : 12.ตุลาคม.2013 tag :

มีข่าวใหม่จากแบรนด์ Leica มาอีกแล้ว! จริงๆก็ไม่ได้ใหม่อะไรถ้าเป็นคนที่ติดตามข่าวสารกล้องคงรู้กันดี กับข่าวลือก่อนหน้านี้เรื่องที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Leica กำลังร่วมมือกันออกแบบกล้องตัวใหม่กับนาย Jonathan Ive และ Marc Newson… นายโจนาธานที่ว่านี่เขาเป็นใครกัน? เขาเป็นนักออกแบบตัวเบ้งของบริษัท Apple ในเวลานี้ ก็ที่ผลิต iphone ipadออกมานั่นงานเขาหมดล่ะ ส่วน Marc Newson นี่ก็เป็นนักออกแบบแห่งยุคนี้ที่ผลิตของดีไซน์ล้ำสมัยออกมามากมาย

สำหรับวันนี้อัพเกรดจากข่าวลือเป็นข่าวจริงๆได้แล้ว เพราะพวกเขาเปิดตัว Leica M รุ่นพิเศษ Limited สำหรับประมูลที่งาน RED โดยเฉพาะ มีรูปชัดๆออกมาให้ดูสวยเช้งเลยทีเดียว ผลงานที่ออกมาเดาได้เลยว่ามันต้องเรียบๆ Minimal ตามสไตล์ Apple แน่ๆ… แล้วมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ บางคนถึงกับแซวว่าถ้า Apple ผลิตกล้องถ่ายรูปเอง รูปแบบมันต้องเป็นแบบเจ้า Apple ผสมร่าง Leica ตัวนี้แน่ๆ ความสวยงามเนียนกริ๊บแบบนี้ก็มีที่มาที่ไปเหมือนกันนะ เห็นเขาว่ากันว่ากว่าจะได้เป็นตัวสมบูรณ์ออกมา พี่โจนาธานใช้เวลาออกแบบอยู่ถึง 85 วัน! ทำตัว Draft มาแล้วกว่า 561 แบบ! ชิ้นส่วนที่ออกแบบต่างๆก็มีมากกว่า 1000 ชนิด! โอ… นี่มันเป็นการออกแบบระดับมาราธอนจริงๆ สวยแต่รูปอย่างเดียวไม่พอ จูบต้องหอมด้วย กล้องตัวนี้รวมๆก็คือกล้อง “Leica M” รุ่นทีเด็ดของพวกเขา ใช้ระบบ CMOS Sensor แบบ Full-Frame และแถมเลนส์ใหม่ที่ออกแบบอย่างพิเศษให้เข้ากับรุ่นเหมือนกันมาให้อีกด้วย “Leica APO-Summicron 50mm f/2” เป็นเลนส์ระยะ 50 ตัวเดียวที่เชื่อได้เลยว่าถ้าคุณรู้ใจมันอย่างดีแล้ว แค่ตัวเดียวก็สามารถใช้ตะลุยโลกกว้างได้สบายๆ

ใครที่สนใจก็อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าเขาทำมาเพื่อขายในการประมูล RED โดยเฉพาะ เงินที่ได้จะนำไปให้เป็นกองทุนสำหรับโรคเอดส์ แฟนๆ Leica คงต้องดูเอาไว้ๆพอ หรือถ้าจะร่วมประมูลกับเขาด้วยก็เชิญไป New York วันที่ 23rd ได้้เลย แต่รับรองจริงๆว่า นอกจากคุณภาพคับเครื่องแล้ว การออกแบบก็ทำมาแบบไม่เสียราคาจริงๆ กับ “Leica M for (RED)” ตัวนี้

 

CREDIT: Petapixel

RECOMMENDED CONTENT

14.ธันวาคม.2020

‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ  ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย