fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#VISIT – ‘มนต์ชนะ สัตยธำรงเธียร’ หัวเรือใหญ่ Design Alive บริษัทรับจัดงานเอ็กซ์โป ในวิกฤตโควิด-19 ที่ไม่มีงาน
date : 4.พฤษภาคม.2020 tag :

ก่อนหน้านี้เราเคยคุยกับคุณเซฟ ‘มนต์ชนะ สัตยธำรงเธียร’ หัวเรือใหญ่ของ Design Alive บริษัทออกแบบและก่อสร้างบูธ รับจัดงานอีเว้นท์และเอ็กซ์โป ไปแล้วครั้งนึง เกี่ยวกับการทำตาม Passion เปิดโรงเรียนสอน คาโปเอร่า ศิลปะการต่อสู้แบบบราซิล

มาครั้งนี้ดู๊ดดอทติดต่อไปอีกครั้งเพราะรู้สึกว่าในวิกฤตโควิด-19 บริษัท Design Alive โดนผลกระทบเต็มๆ เนื่องจากงานงานอีเว้นท์และเอ็กซ์โปไม่เกิดขึ้น เลยอยากรู้ว่าตอนนี้ปรับตัวยังไง และต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะเอาตัวรอดจากวิกฤตนี้

หน้าที่ของบริษัทรับจัดงานอีเว้นท์และเอ็กซ์โป ?

บทบาทของเราอยู่ระหว่างลูกค้าหรือแบรนด์ > เพื่อไปหาลูกค้าของลูกค้า อย่างดีลเลอร์ หรือดิสทริบิวเตอร์ > เพื่อไปหาผู้บริโภค หลักๆ แล้วเราอยู่ตรงกลาง ทุกครั้งหน้าที่ของเราไม่ว่าจะเป็นออแบบบูธ จัดอีเว้นท์หรือเอ็กซ์โป ลูกค้ามาหาเราเพื่อให้เราสร้างเครื่องมือเพื่อไปถึงฝั่งดีลเลอร์ หรือดิสทริบิวเตอร์ นี่คือหน้าที่ของเรา

เพราะฉะนั้นอีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์ ที่เข้าใจงานก็ต้องเข้าใจบทบาทของเราก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร และดีลเลอร์ หรือดิสทริบิวเตอร์ ต้องการอะไร เพราะฉะนั้นเราคือเครื่องมือที่ทำให้เกิด win win situation

ปัญหาที่เจอตอนนี้ ?

ปัญหาตอนนี้คือคนเจอกันไม่ได้ เรามีคอนดิชั่นใหม่เกิดขึ้นมาคือ ‘คนห้ามเจอคน’ ไม่ดูคอนเสิร์ต ไม่เดินห้าง ไม่เล่นสงกรานต์ อะไรก็ได้ที่ไม่เจอกัน แต่ไม่ใช่ว่าตลาดล่มสลาย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราคือต้องเข้าใจโครงสร้างนี้ก่อนว่า งานยังอยู่ ดีมานด์กับซัพพลายก็ยังอยู่ แต่ตลาดมันเปลี่ยน เครื่องมือมันเปลี่ยน

เรามีหน้าที่เหมือนเดิม เพราะบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแสนสิริ, เซ็นทรัล แบรนด์อะไรก็แล้วแต่ เมื่อก่อนเขาเคยใช้ออร์แกไนเซอร์ เกิดโควิด-19 ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ต้องการ

แล้วต้องทำยังไง ?

ข้อ 1 เราต้องปรับเครื่องมือก่อน แต่สถาณการณ์มันวิกฤต ข้อสรุปของอันดับแรกก็คือ โครงสร้างตลาดยังเหมือนเดิม แต่วิธีการเปลี่ยน เพราะคนยังต้องกินต้องใช้

ข้อ 2 คือมันเป็นวิกฤตที่เราไม่สามารถใช้คำตอบรูปแบบเดียวแล้วแก้ไขได้หมดเลย ปัญหาที่แท้จริงของตอนนี้มันไม่ใช่ปัญหาเรื่องวิกฤตเพียงอย่างเดียว แต่ว่ามันเป็นวิกฤตฉับพลันด้วย เมื่อคนเจอคนไม่ได้ แล้วมันเกิดขึ้นภายใน 3 เดือน ทุกอย่างตกหมด

เราจะปรับตัวยังไงในเวลาอันสั้นแบบนี้ ?

มี 2 รูปแบบ คือการจัดการเรื่องรายจ่ายและการจัดการเรื่องรายรับของบริษัท

1. รายจ่าย

รายได้ทั้งหมดของบริษัทตอนนี้หายไปกว่า 80% นั่นหมายความว่าเมื่อก่อนจ่ายได้ แต่ตอนนี้จ่ายไม่ได้ เพราะฉะนั้นเงินเดือนก็ต้องคุย เรื่องค่าเช่าก็ต้องต่อรอง หนี้ต้องขอผ่อนผัน รวมถึงอื่นๆ ก็ต้องคุยให้หมด ในส่วนของ Design Alive เราเรียกประชุมกันเพราะทุกคนเริ่มเห็นสถานการณ์ เราขอลดเงินเดือนพนักงานก่อน 10% แลกเปลี่ยนกับการทำงานจากที่บ้าน 

การตัด 10% คือเราไม่ต้องการลดเงินใคร แต่เราแลกมาด้วยระบบ Work from Home ซึ่งไม่กระทบอะไรเลย แล้วที่บริษัทก็ประชุมกันทางออนไลน์หมด เพราะฉะนั้นเราช่วยพนักงานลดค่าใช้จ่ายแลกกับการขอพนักงานงานคืน 10% ซึ่งโมเดลนี้ทุกคนพยักหน้าว่าดีขึ้น เพราะพนักงานก็ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ทั้งเดือน บริษัทก็ได้เงินคืนกลับมา อันนี้เราเริ่มดีขึ้น 10% แสดงว่าบริษัทที่อาจจะตายภายใน 10 เดือน กลายเป็นว่าอยู่รอดเพิ่มอีกเดือน

แต่ถ้าสถารการณ์แย่กว่าเดิมคนไทยตายเป็นแสน อันนี้ต้อง Leave Without Pay เพราะบริษัทเราอาจจะไม่ไหว ไม่ต้องรอให้หมดเงินปิดก่อนได้เลย ผมว่าตอนนั้นทุกคนไม่ห่วงบริษัทแล้วคงห่วงชีวิตตัวเองมากกว่า

2. รายรับ

รายรับไม่ใช่แค่เปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา เพราะไม่ว่าจะลงทุนอะไรก็แล้วแต่เราไม่สามารถทำให้เกิดรายรับเท่าเดิมภายในสองเดือนได้ เรื่องนี้ยากมาก นั่นหมายความว่าเราต้องเปลี่ยนรูปแบบบริษัทไปเลยภายในสองเดือน ‘แต่ต้องทำ’ ประเด็นคือต้องมีการปรับตัว ไม่สามารถคิดเหมือนเดิมได้ คราวนี้เราต้องรีบปรับตัว

ปรับตัวยังไงให้เกิดผลทันใช้งาน ?

เราต้องเข้าใจก่อนว่าเราไม่สามรถเปลี่ยนสกิลของทีมเราได้ แต่เราสามารถสลับซัพพลายเออร์ได้ ซึ่งมันจะลิ้งค์กับความเข้าใจในหน้าที่ของบริษัทแบบที่อธิบายไว้ตอนแรก อย่างเช่น Design Alive เป็นบริษัทออกแบบและก่อสร้างบูธ รับจัดงานอีเว้นท์และเอ็กซ์โป ตอนนี้บูธไม่ขึ้นเพราะงานอีเว้นท์จัดไม่ได้ เอ็กซ์โปไม่เกิดขึ้นเพราะคนมาเจอกันไม่ได้

คราวนี้เรามาดูโครงสร้างบริษัท แต่อย่าลืมว่าเราจะปรับตัวยังไงก็ได้แต่ต้องเข้าใจตลาด ว่า Design Alive คือตัวกลางที่ทำให้ทุกอย่างมาเจอกัน สมมติว่าบริษัทน้ำพริกเผาปกติขายส่งในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ไปออกบูธที่งานไทยเฟล็กเพราะต้องการขายลูกค้าต่างประเทศ ปกติเขาก็จะติดต่อมาที่เราเพื่อที่จะให้ทำบูธในงาน อันดับแรกเลยที่เรามองเห็นจากบริษัทน้ำพรกเผาคือเขาอาจจะไม่มีฝ่ายพรีอาร์ต่างประเทศหรืออาจจะมีแต่ยังขาดอยู่เลยต้องออกงานเอ็กซ์โป ซึ่งจุดที่ลูกค้าขาดอยู่นั่นแหละคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเรา

ขอยกอีกตัวอย่าง สมมติคุณมาออกงานเอ็กซ์โปแล้วอยากได้คอนแทค 100 คนจากต่างประเทศ งั้นถามว่า Design Alive เอาคอนแทคเหล่านี้มาให้ลูกค้าได้ไหมโดยที่ไม่ต้องออกบูธ นั่นหมายความว่าเราหลีกเลี่ยงการที่คนมาเจอกัน แต่ยังโดยรวมเรายังทำให้ตลาดเกิดขึ้นต่อไปได้ เห็นไหมว่าหน้าที่ของเราก็ยังส่งเสริมให้เกิด win win situation เหมือนเดิม อันนี้เป็นแค่การยกตัวอย่างนะครับ

แล้วตอนนี้ Design Alive ทำยังไง ?

สำหรับเราตอนนี้ไปทำอย่างอื่นก็ได้เงินไม่พออยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราข้ามไปก่อนดีกว่า ก่อนหน้าโรคระบาดเราเป็นบริษัทที่มีงานตลอดทั้งปี งานเราไม่ได้ยกเลิกแต่แค่เลื่อนไปก่อน ตอนนี้เราเลยเตรียมทีมไว้รับงานช่วงเดือนกรกฎาคมและช่วงปลายปี ช่วงนี้ดีไซน์เนอร์ของเราว่าง เลยลองไปงัดงานใหญ่ๆ เพราะ Design Alive ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในตลาด

Design Alive มีข้อดี – ข้อเสีย ?

บริษัท Design Alive คือคนเป็นยังไงก็บริษัทก็เป็นอย่างนั้น โตตามธรรมชาติ งานของเราอาจจะขยายตามความชอบของคนในทีม เลยเกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างเรามีเซลล์ที่เข้ากับดีไซน์เนอร์ได้ดี ทำให้เรามีกรุ๊ปเล็กๆ ที่ออกไปทำงานได้อิสระมาก เวลามีคนมาทำงานที่ Design Alive ผมจะบอกว่าบริษัทผมจะมีข้อดีข้อเสียอันเดียวกันเลยครับ คือที่นี่ไม่มีคนคุมนะครับ คุณรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองก็พอแล้ว เพราะตัวผมเองไม่ได้ทำตัวเป็นเจ้านายคุณนะครับ ผมก็มีงานของผมเอง แล้วคุณก็ทำงานของคุณเอง ข้อเสียก็อาจจะเป็นการทำงานระบบแบบที่บริษัทใหญ่ๆ ทำไม่ได้ มันอาจจะไม่ได้เป็นขอเสียสะทีเดียว เรียกว่าสไตล์ดีกว่า เพราะฉะนั้น Design Alive เคลื่อนไหวได้เร็ว ปรับตัวกับงานได้เร็ว และต้องการการดูแลต่ำ เพราะแต่ละทีมดูแลตัวเองอยู่แล้ว

การทำบริษัทควรเตรียมเงินไว้เผื่อเวลาแบบนี้ขนาดไหน ?

จริงๆ โควิด-19 เป็นเรื่องนึงที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง ในฐานะเจ้าของบริษัทเราควรเตรียมเงินไว้สำหรับเรื่องพวกนี้ตลอดเวลา ถ้าทุกบริษัทเข้าใจการเงิน ทุกคนก็จะลอยคอผ่านคลื่นใหญ่ไปได้โดยที่บริษัทไม่เจ๊ง บริษัทที่เริ่มปิดไปตอนนี้หมายถึงว่าปกติเขาใช้เงินเกิน ถ้าเจอวิกฤตแล้ว 2 – 3 เดือนต้องปิดแล้ว เท่ากับว่าคุณเตรียมตัวมาไม่พอ

ตอนนี้บริษัทเหมือนลงโรเรอร์ครอสเตอร์กันหมด แต่สมมติว่าเราวางกราฟไว้ว่าตรงนี้คือเส้นเจ๊ง บริษัทที่ดีคือลงด้วยแต่ไม่แตะเส้นเจ๊ง จนกระทั่งเศรฐกิจมันดีขึ้นก็ขึ้นตามไปด้วย แล้วพอกลับมาได้เราจะมีบทเรียน ทุกบริษัทจะมีเงินเก็บเยอะขึ้น

ภาคธุรกิจอีเว้นท์ เอ็กซ์โป มันทำเงินให้ประเทศปีละเป็นหมื่นล้านรัฐบาลคงเพิกเฉยไม่ได้ ไม่ช้าก็เร็วรัฐบาลก็ต้องมีงบออกมาช่วย คือในช่วงแรกธุรกิจแบบเราเขายังไม่ช่วยหรอก เขาต้องเอาเงินไปช่วยคนที่หนักกว่าเรา ต้องไปช่วยสาธารณะสุข ต้องไปช่วยคุณตา คุณยาย ไม่ให้มีคนเสียชีวิตมากไปกว่านี้ หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะค่อยๆ ฟื้น เราต้องอยู่รอดให้ถึงตอนนั้น ซึ่งถ้ามีความรู้ด้านการเงินดี เราจะอยู่ถึง

แล้วการเงินของคนทั่วไป ต้องจัดการยังไง ?

นคนปกติแล้วควรมีเงินเก็บหรือที่เรียกว่าเงินเย็นให้อยู่ได้ 6 เดือน ต้องรวมผ่อนบ้าน ผ่อนรถไว้ด้วย เผื่อเวลาตกงานจะได้มีเวลาหางานใหม่ที่มีรายได้เท่าเดิมกลับมา แต่ถ้าโดนไล่ออกตอนนี้ แล้วผ่อนบ้าน ผ่อนรถอยู่ เงินใช้ไม่พอแน่นอนตอนี้ ไปคุยกับไฟแนนซ์เลยว่าผ่อนไม่ไหว เผื่อตัดรายจ่ายออกไปให้เยอะที่สุด อันนี้เป็นความรู้ด้านการเงิน

ในวิกฤตนี้เรียนรู้อะไร

สถานณ์การแบบนี้นะครับ ผมขอยกคำว่ายุคที่วิทยาศาสตาร์เติบโตเร็วที่สุด คือยุคที่มีสงครามคือตัวสงครามมันรุนแรงมากจนบูสให้วิทยาศาสตาร์มันโตขึ้น ทุกครั้งที่มีปัญหาเราจะเรียนรู้ ลองคิดดูสิว่าถ้า 5 ปีข้างหน้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้เราจะแพนิคน้อยกว่านี้แน่นอน

 

RECOMMENDED CONTENT

31.สิงหาคม.2017

ผ่านไปแล้วหมาดๆ กับรอบ Wolrd Premeire ใน section 'Venice Days' ของเทศกาล Venice Film Festival กับภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง – 'Samui Song – ไม่มีสมุยสำหรับเธอ' หลังจากห่างหายงานกำกับภาพยนตร์ไปอย่างยาวนาน