fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

Chineasy วิธีสอนภาษาจีนรูปแบบใหม่ไม่เหมือนใคร ผ่านการใช้ภาพประกอบ illustration เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตัวอักษรให้นักเรียนจำได้ง่าย
date : 17.สิงหาคม.2013 tag :

ณ ปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่าผู้คนจากหลากหลายประเทศรวมทั้งไทย ได้หันมาสนใจเรียนภาษาจีนกันเป็นอย่างมากไม่แพ้ภาษาอังกฤษ เหตุเพราะคนจีนหลายล้านคนได้อพยพไปอยู่ในประเทศต่างๆในโลก แถมในประเทศจีนเองก็มีประชากรมากถึง 1,300+ กว่าล้านคน จึงไม่แปลกใจเลยที่ผู้คนจากประเทศต่างๆจะอยากที่จะเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจนี้ ภาษาจีนเลยกลายเป็น “number one universal language” หรือภาษาที่คนพูดกันมากที่สุดทั่วโลก

อย่างที่ทราบกันดีว่า ภาษาจีนนั้นเป็นภาษาที่เรียนยาก โดยเหตุผลหลักคือตัวอักษรที่ค่อนข้างซับซ้อน และส่วนใหญ่วิธีการสอนภาษาจีนในปัจจุบันก็ไม่ได้ทำให้คนที่มาเรียนรู้สึกเข้าถึงได้ง่าย ผลที่ตามมาจึงไม่ได้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร และนักเรียนก็เลยยังเรียนภาษาจีนแบบติดๆขัดๆ อยู่อย่างเดิม ShaoLan Hsueh ผู้คิดค้น Chineasy ตระหนักถึงข้อนี้ดี เธอจึงคิดค้นวิธีเรียนภาษาจีนในรูปแบบใหม่ โดยใช้ภาพวาด illustration เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวอักษรหลักสำคัญในภาษาจีน เพื่อทำให้นักเรียนที่อ่าน อ่านอักษรจีนได้ง่ายและเร็วขึ้น วัตถุประสงค์สำคัญสำหรับ Chineasy ในความคิดของ ShaoLan ก็คือการเชื่อมช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออก เธออยากให้คนฝั่งตะวันตกสามารถเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของคนจีนและประเทศจีนอย่างแท้จริงและให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น โดย Chineasy จะเป็นเหมือนด่านแรกที่นักเรียนต่างชาติทุกคนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาของจีน และในความตั้งใจของ ShaoLan อีกอย่างก็คือ เธออยากแสดงให้นักเรียนต่างชาติเห็นถึงวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประเทศจีน โดยตีความในรูปแบบใหม่ผ่านการดีไซน์ที่ดูเรียบแต่ทันสมัย และที่สำคัญคือจำได้ง่าย

หากใครกำลังสนใจที่จะเรียนภาษาจีนแต่ก็กล้าๆกลัวๆไม่แน่ใจว่าจะสามารถเรียนได้ดีหรือไม่ เข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและขั้นตอนการคิดค้นวิธีเรียนอันสุดแสนชาญฉลาดของ Chineasy นี้ได้ใน http://www.kickstarter.com/projects/shaolanchineasy/chineasy-begins-0

Credit : kickstarter

RECOMMENDED CONTENT

19.เมษายน.2019

เป็นครั้งแรกที่บริษัทผู้สร้างตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดอย่าง Monotype ได้ทำการออกแบบตกแต่งตัวชุดอักษรที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอย่าง Helvetica หลังจากที่พยายามปลุกปล้ำกันอยู่นานกว่าสองปีเพื่อที่จะปรับปรุงชุดตัวอักษรที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบ swizz font