fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

สนทนาข้ามทวีปกับ โอ๊ต ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี
date : 16.กุมภาพันธ์.2012 tag :

“ทุกๆคนมีความฝันแหละ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำฝันให้เป็นจริง
ถ้าเราไม่เริ่มทำจากตัวเอง ก็ไม่มีใครมาทำให้เราหรอก
อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ 
ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวเรา”  –  โอ๊ต ชัยสิทธิ์

Everyone has a dream but not so many can catch their dream.
If we don’t start to do something, nobody will do for us,
everything depends on ourselves. – Oat Chaiyasith
 

จากเด็กคนนึงที่มีฝันว่าอยากจะเป็นช่างภาพระดับโลกให้ได้ มาวันนี้ฝันของชายคนนี้กำลังจะเป็นจริง การก้าวข้ามอุปสรรคและเดินหน้าสู่ความสำเร็จ ที่เขาบอกว่ามันยังแค่เริ่มต้นเท่านั้น ยังมีอีกร้อย อีกพันก้าวที่เข้ายังต้องเดินต่อไป หนทางกว่าจะมาเป็นอย่างทุกวันนี้ เขาเริ่มต้นและเดินทางอย่างไร ความลำบาก อนาคตที่เขาวาดไว้จะเป็นแบบไหนลองติดตามได้กับการสนทนาข้ามทวีปของช่างภาพสายเลือดไทยที่ไปไกลถึงอังกฤษ โอ๊ต ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี

From a little boy who had dreamt to be the world famous photographer. Today his dream is coming true. he said it’s just the beginning for his path of success. The conversation across the continent from UK with the Thai photographer will show his beginning and the journey of Oat – Chaiyasith Joonjurdee. 

         

 

มันเริ่มจากฝันแรกตั้งแต่เรียนประถมที่เราอยากเป็นสถาปนิก 

เราชอบดูพวกโมเดลบ้านมาก นึกแล้วก็ตลกดี ชอบถึงขนาดเก็บกล่องขนมมาทำโมเดล พอตอน ม.ปลายเราก็เลือกเรียนสาย วิทย์-ศิลป์ เพื่อที่จะได้สอบเข้าสถาปัตย์ และเราเป็นคนเดียวในห้องที่เลือกเรียนและต้องเข้าไปเรียนในห้องพักครู ตอนแรกเพื่อนๆมันแซวกันใหญ่เลย แต่พอเรียนไปเรียนมา กลับมีเพื่อนเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันเริ่มเรียน วิทย์-คอม ไม่ไหวกัน ที่นี้หละเราหัวเราะดังกว่าตอนที่พวกมันหัวเราะอีก(หัวเราะ) พอเรียนศิลปะก็เริ่มรู้สึกว่า เราวาดรูปไม่ได้เลยจะสอบเข้าสถาปัตย์ได้ยังไง วาดรูปห่วยมากจริงๆ ก็เลยไปเรียนติวกับพี่ที่จุฬา และตอนนั้นแหละเริ่มอยากได้กล้องถ่ายรูป บวกกับตอนนั้นพี่ๆเขาเห็นว่าเราน่าจะเรียน Industrial Design (ID) เพราะเราชอบพวก function พวกนั้น พี่ที่สอนเราเขาบอก “จริงๆแล้วเราเป็น ID นะ เพราะทุกๆอย่างที่เราทำมันดูเป็น ID มาก” ก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนไปสอบเข้า ID แล้วก็สอบติดที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำได้เลยตอนไปสอบสัมภาษณ์ บอกอาจารย์ว่า “อาจารย์ให้ผมเรียนเถอะ เชื่อผมเถอะ ว่าผมจะมีอนาคตที่ดีในคณะนี้ ถึงแม้ว่าผมจะวาดรูปห่วยก็ตาม แต่ผมมี vision นะอาจารย์” (หัวเราะ) 

“I told the professor that i will have a very good future in this career. Although I can’t draw but I have a vision.”

My first dream from the primary school was to be an architect.It’s funny that i was so crazy about the house model, I collected the snack boxes to build the model myself. When i was in high school, i was the only one who attend the program to continue college level in school of architecture. More friends joined the program after they realized that computer program was too hard and moved to my program. However after i started my art class i knew that i couldn’t draw so i went to the tutor. That is when i wanted a camera the first time, and the tutor at Chula suggest that my character is more suitable for Industrial design. So I got in to Industrial design at KMUTT. At the interview i told the professor that i will have a very good future in this career. Although i can’t draw but i have a vision. 

จำได้ว่าตอนม.5 อยากได้กล้องมากๆ 

Nikon รุ่น coolpix 4300  4 ล้านพิกเซล สองหมื่นกว่าบาท เดินไปดูทุกวันเลย ก็จะลากแม่ไปดูที่ร้านกล้องทุกครั้ง ซึ่งมันเป็นอะไรที่ยากมากที่จะโน้มน้าวใจให้แม่ซื้อกล้องให้ตัวหนึ่ง 20,000 บาท กล้องตัวแรกได้มาเพราะว่าเอนท์ติด ตอนนั้นสอบตรงติดที่ สถาปัตย์บางมด (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) แล้วก็สอบติดโควตาที่เศษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แม่นี่แบบจุดพลุเลย ลูกเอนท์ติด เราก็ได้โอกาสเลย “แม่เอนท์ติดแล้วน่ะขอกล้องตัวนึงละกัน” คราวนี้เลยขอ Canon 300D ที่เป็น DSLR ก่อนที่เราจะซื้อเราศึกษามันมาประมาณหนึ่งเลยละ ดูหนังสือเยอะมาก เพราะเราเป็นคนที่ค่อนข้างใช้เงินคุ้มค่านิดนึง จะซื้ออะไรทีนึงจะใช้เวลาคิดนาน เพราะเก็บเงินด้วยตัวเอง เงินมันมีน้อย แต่พอจะซื้อจริงๆก็เกรงใจแม่ เพราะราคามันตั้ง 40,000 บาท เลยไปแคะกระปุกมา มีอยู่ 8,000 บาท เลยช่วยสมทบทุนแม่ไป 8,000 บาท พอได้กล้อง ก็แบบเท่ห์โคตรๆ เพราะกล้องมันมืออาชีพมาก แต่ถ่ายออกมาดูไม่สวยเลยสักรูป มันดูไม่ได้เลยนะ เราก็รู้สึกแย่ละ ถือกล้องตัวเบอเร่อแต่ถ่ายรูปไม่ได้เรื่องเลย 

When i was in High school I want a camera badly.

I took my mom to the camera shop to look at the Nikon coolpix 4300, 4 million Pixel for 20,000 baht everyday. It hard to convince her to buy. My 1st one was a reward for accepted both to the School of Architecture and Design, King Mongkut’s University of Technology Thonburi and Faculty of Economics, Thammasat University. My mom was so proud, so i took a chance asking her for a Cannon 300D that I had reserved for a while. Since I had a limit budget and it was 40,000 baht. And I gave my mom on 8,000 baht from all of my saving. when I got a camera, it looked very awesome and professional. But the photo was pretty bad, it felt so bad having a cool camera but taking a bad pictures.

 

เราก็เลยไปเรียนถ่ายภาพ 

อาจารย์นพดล อาชาสันติสุข (บรรณาธิการ นิตยสาร Camerart) ทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เคยรู้มาเกี่ยวกับการถ่ายรูปมันผิดหมดเลย เพราะการถ่ายรูปมันไม่ใช่การจำว่าค่าแสงแบบนี้ต้องตั้งค่าอันนั้นอันนี้เท่าไหร่ แต่มันคือการทำความเข้าใจกับการถ่ายภาพมากกว่า อาจารย์ท่านเริ่มสอนตั้งแต่เบสิกใหม่เลย จนเริ่มถ่ายเป็นขึ้นมาระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ดีอะไรมากมายนะ ใครที่คิดว่าตัวเองถ่ายรูปไม่เก่งอะ ให้มาดูงานเราจากกล้องตัวแรก เชื่อไหมว่าเรายังเก็บไว้อยู่เลย( หัวเราะ) พอเรากลับไปดูก็ขำตัวเองนะ ครั้งนึงแฟนเราถามเราว่าทำไมไม่ลบมันทิ้งไปหละ เราตอบว่า “เราเก็บมันไว้เพื่อเตือนสติตัวเอง มันเป็นแรงผลักดันในการทำงานของเรานะ ไอ้ความรู้สึกแย่ในตอนนั้น แต่พอกลับไปดู มันก็ทำให้เราภูมิใจนะ ว่าเราก็มีการพัฒนาทางด้านถ่ายรูปเหมือนกัน”

So I took a photograph class

My instructor, Nopadol Achasantisuk (The editor of camerart magazine) taught me that all I know about photo was all wrong. Taking a photo was not only about setting value in camera. But the understanding of the photography. He started to taught from the basic. I improved a little but not that good. Whoever think tha t they can’t taking a photo should look at my 1st portfolio. Looking back it kind of funny once my girlfriend asked me “why didn’t I deleted it, I answered it was to remind myself and be my motivation that bad feeling make me proud today.” 

 

มันไม่มีงานทำ ไม่มีงานไม่พอมันหนาวมาก หดหู่มาก ตังค์ก็หมด
เราร้องไห้เลยนะ  ท้อมาก มันยากเกินไปแล้ว มันเกินสิ่งที่เราคาดหวังไปเยอะแล้ว 


 

ส่วนมากคนชอบถามเรื่องกว่าจะมายืนอยู่ตรงนี้เดินทางยังไง แต่ไม่ค่อยมีคนถามว่าแต่ละ step มันเป็นยังไง 

อย่างตอนที่อยู่อังกฤษ ช่วงมกราปีที่แล้ว (หัวเราะ) มันไม่มีงานทำ ไม่มีงานไม่พอมันหนาวมาก หดหู่มาก มันแบบอับเฉาไปหมด ดอกไม้ไม่บาน บ่ายสามก็มืดแล้ว ตังค์ก็หมด แม่ก็บอกให้กลับบ้าน เรียนก็ยาก ชีวิตมันแย่มากๆ เราเคยส่งอีเมลไปสมัครงานเป็น 1000  ฉบับ แล้วไม่มีใครตอบกลับมาเลยน่ะ บางที walk in เข้าไป โดนคนดูถูก โดนคนหาว่า คุณเป็นเอเชียจะทำงานแบบนี้ได้หรอ นี่มันเป็นงานของฝรั่งเขาทำกันน่ะ ซึ่งมันเป็นอุปสรรคครั้งยิ่งใหญ่มากเลยน่ะ เราร้องไห้เลยนะ  ท้อมาก มันยากเกินไปแล้ว มันเกินสิ่งที่เราคาดหวังไปเยอะแล้ว ก่อนที่จะมาอยู่อังกฤษปีนึงเต็มๆ เราทำงาน 7 วัน ทำงานทุกวันถ่ายรูปทุกวัน ทำงานหนักมาก และพอมาอยู่อังกฤษไม่มีงานทำนั่งนอนอยู่บ้าน เหมือนชดเชยเวลาที่เราทำงานหนักตอนอยู่เมืองไทย ว่างอยู่ 8 เดือนเลยน่ะ แต่ในช่วง 8 เดือนนั้นก็ทำ Portfolio อยู่ตลอดเพื่อพัฒนางานของตัวเองให้ดีมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับ ในช่วงนั้นเงินที่หามาจากไทยก็เริ่มจะหมดแล้ว เกือบไปสมัครเป็นเด็กล้างจานแล้ว เพราะเงินดี แต่แฟนเราห้ามไว้บอกให้ลองสุ้อีกสักครั้ง  เราก็แบบเอาว่ะ อีกสักตั้ง ก็มาได้งานแรก เป็นงาน wedding ซึ่งเป็นงานที่เราถนัดที่สุด แล้วมันก็ต่อยอดมาเรื่อยๆ 

Most people ask how I can be here, but nobody ask about each step

When I was in UK last january I didn’t have a job. I didn’t have money. I was so depress. My mom want me to get back home in Thailand. I sent a lot of email to apply for a job for 1000 times. when I went to interview I was look down that asian cant do this kind of job, it a job for European. I was my great obstacle, I did cried, it was too hard. For 8 months, I stay at home for nothing, but I took the time to improved my portfolio. I almost took a busboy job at the restaurant nearly broke. I got my first photograph job as a wedding photographer which I can do the best, after that the job keep coming. 

   

   

ทำให้ฝรั่งเขารู้ว่าเราก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าเขา 

 

เราเอาความเป็นเอเชีย lift up ขึ้นมา ความสุภาพ ความอ่อนหวาน, อ่อนโยนกว่างานฝรั่งอย่างฝรั่งเขาจะสีสันฉูดฉาด ความ หนักแน่น แต่เรานำเสนอผลงานของเราในแบบ soft แต่ impact งานเราจะแบบ lively ยิ่งเฉพาะงาน wedding ถ้าเทียบกันของเรากับของเมืองนอกน่ะ wedding ของเราจะเป็นแบบมีชีวิตชีวา ใส่เข้าไปในภาพ นั่นคือสิ่งที่คนเอเชียมี คือเราจะมี positive ในชีวิตตลอดเวลาจะยิ้มตลอด ด้วย personality ตรงนี้มันก็ reflect ลงบนภาพ เราอยากทำให้ภาพที่คนดูแล้วยิ้มอ่ะ เราจะเอาข้อดีของเอเชียมาต่อยอดในการถ่ายภาพ ก็จะเป็นงานอีกมุมมองนึงที่คนมองแล้วสะดุดตา

Making European knows that Thai, Asian can be a professional photographer.
I use the asian style of generosity and sweetness. The European work are colorful and strong but my work are soft, lively and strong especially the wedding photograph, my wedding work is lively like the asian with smile. This personality will reflect from the photo.  I put the asian straight to my photo wish will catch the eye of the viewer. 

ความเข้าใจในการทำงาน

 

บางคนเก่งแต่ artist เกินไป ลืมไปว่าลูกค้าต้องการอะไร เราต้อง balance ความเป็น artistic ของตัวเองกับความต้องการของลูกค้าให้ลงตัว ตรงเวลา มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ไม่หลอกลูกค้า และก็ตั้งใจทำงานทุกงานให้เหมือนกัน ไม่ว่าเราทำงานฟรีกับทำงานได้ตังค์ เราก็ทำงานเท่ากัน เพราะเรารู้สึกว่าการเลือกที่จะรับงานแล้ว เราก็ต้องทำมันให้เต็มที่ ไม่ใช่งานนี้ทำฟรี แบบถ่าย 5 รูปเสร็จแล้วไปเดินเล่นก็ไม่ใช่ งานฟรีเราทำเต็มร้อยเท่ากับงานเงินแสนไม่ต่างกัน

We must understand our work

Some good photographer are to emotional then they forget about what costumer want. We must balance between our artistic and costumer needs, be punctual have integrity. Work is work either getting a paycheck or not if we decide to that job we must do it 100% the same.

  
  

 

อะไรคือสิ่งที่เราถนัด 

 

หลังจากที่เรียนจบ เรากลับรู้สึกว่า จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นที่จะต้องจำกัดหรือยึดติดว่าเราต้องเป็นช่างภาพสไตล์ไหน เราทำให้ตัวเองทำได้หลายอย่างดีกว่า เราเคยอ่านเรื่องของช่างภาพหลายคนที่เขาเก่งๆ เขาเก่งได้เพราะเขามีความยืดหยุ่นในตัวเอง เช่น Annie Leibovitz ก่อนหน้าที่เขาจะมาถ่าย Fashion เขาก็ถ่าย documentary มาก่อน และก็ค่อยๆเข้ามาสู่งานของ Portrait จนมาทำงานสาย Fashion เขาไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นช่างภาพอย่างนี้อย่างเดียว แต่เขาประยุกต์ หลายๆ อย่างรอบตัวเข้าด้วยกันได้ ส่วนตัวเรา เราทำงานได้ดีในเรื่องของ Personality ของคน เราก็เลยเอามาใช้ในเรื่องของ wedding, fashion แล้วก็ portrait เป็นหลัก งานของเราเลยจะเก่ียวกับคนเลยล้วนๆ

We don’t have to limit our style of photography

After I graduated I felt that we don’t have to limit our style of photography we can do many things. I have read other photographer bibliography that they are good because they are flexible for themselves like Annie Leibovitz, she did documentary and move to portrait and come to fashion. She doesn’t specific herself but apply everything around her. For myself I’m good at the personality and use in the wedding, fashion and portrait. My work is mostly about people and personality.

 

รูป Portrait ที่ดีมันควรที่จะสื่อสารให้คนรู้ว่าเราเป็นคนยังไง ต้องรู้ว่าเราเป็นใคร

 

นี่แหละคืองาน Portrait ที่ดี เราเริ่มศึกษาเรื่อง Portrait จริงจัง การถ่ายภาพมันไม่ใช่แค่การกดชัตเตอร์ หรือรู้เรื่องเทคนิค มันขึ้นอยู่กับอะไรหลายๆอย่าง การที่ช่างภาพคนหนึ่งจะมาคุยกับใครซักคนหนึ่ง มันต้องดึงตัวตนของเขาออกมาให้สุด สมมุติว่าคุณต้องการสื่อสารให้คนคนนี้รู้สึกว่าโกรธ แล้วคุณไปบอกเขาว่าให้ทำหน้าโกรธๆหน่อย เขาจะทำหน้าโกรธได้แค่ไหน แต่ถ้าคุณเดินไปเตะตูดเขาแล้วบอกว่าถ่ายรูปได้ปะ อะไรอย่างงี้ เขาโคตรโกรธเลย แล้วเราค่อยไปขอโทษเขาที่หลังที่เราเตะตูดไปเพราะว่าเราอยากได้อารมณ์อย่างนั้นจริงๆ มันเป็นจิตวิทยา ถ้าเราทำได้อย่างนี้งานเราจะเป็นเอกลักษณ์ เราเลยใส่ใจกับเรื่องนี้มาตลอด และรู้ว่าจะต้องสือสารกับนายแบบนางแบบเรายังไงเพื่อจะดึงตัวตนของเขาออกมา

A good portrait picture should let people know who you really are

I study portrait seriously, taking the photo is not just about pushing the shutter or just about the technique. It’s communication, when you taking the picture of the people you want to show the personality of them if you want to take a photo of the anger, you cannot just tell them to show the anger face. They might not make it surrealistic but if you do something that make them real angry like just kick their asses you can then take a picture and apologize later. The picture will have more realistic.

 

ทุกๆคนมันมีความฝันแหละ แต่จะมีสักกี่คนที่จะทำความฝันนั้นเป็นจริง

ถ้่าเรามัวแต่คิดว่า อยากจะเป็นช่างภาพระดับโลก แล้วนั่งงอมืองอเท้าอยู่ที่บ้าน ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ บอกได้เลยว่าชีวิตเรามันมีอุปสรรคทุกวัน การที่เราเจอมันทุกวัน มันทำให้เราเก่งขึ้น และบอกกับตัวเองด้วยว่าการที่เราเจออุปสรรคทุกวันนั่นแปลว่าเราใกล้กับเส้นชัยเข้าทุกวันแล้ว อย่ามองว่าอุปสรรคเป็นอุปสรรค คิดว่ามันเป็นเกมส์ สนุกที่จะสู้กับปัญหาที่ผ่านมาทุกๆวัน ทุกๆคนมันมีความฝันแหละ แต่จะมีสักกี่คนที่จะทำความฝันนั้นเป็นจริง ถ้าเกิดเราไม่เริ่มจากตัวเองก็ไม่มีใครมาทำให้เราหรอก อย่าไปอ้างนู่นอ้างนี่ อย่าไปโทษคนอื่น เกิดอะไรขึ้นโทษตัวเอง วันนึงมีคำถามเกิดกับเราว่า “หรือว่าจะไม่ไปอังกฤษดี” เรามีเงินล้านนึงแล้วอ่ะ ไปเปิดโปรดักชั่นเฮ้าส์แล้วก็ต่อยอดที่เมืองไทย ก็ได้เพราะลูกค้าเราก็มี แต่เราก็คิดว่า ถ้าวันหนึ่งเราอายุ 60 มีลูกมีหลาน แล้วต้องพูดกับหลานว่า “เชื่อไหมถ้าตอนนั้นปู่ไปอังกฤษปู่รุ่งไปแล้ว” เราคงเจ็บใจกับคำพูดคำนั้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นเรารู้สึกว่า เราเลือกใช้ชีวิตในสิ่งที่เราอยากจะทำ ©

Nothing will happen if just thinking of it.

 

If you want to be a world class photographer but you don’t work hard for it, you dream will never come true. Life are full of obstacle, it make us stronger. Obstacle are a challenging game, you should having fun solving it.Everyone have a dream but only little of them come true. If we not start from ourselves, nobody gonna do it for us. If one day someone ask me why don’t I use the same money going to UK. Open my own production house in Thailand. “ I don’t want to regret that if that day i went to UK. My life must be better that this”, so live just the way you want to live. ©

 


 

* ติดตามผลงานของเขาคนนี้ได้ที่ www.oat-chaiyasith.com
* Catch up with him at www.oat-chaiyasith.com

 

RECOMMENDED CONTENT

21.ตุลาคม.2022

เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนชาวไทย ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค จึงนำ “เสียง” หรือความคิดเห็นจากประชาชนภาคธุรกิจ มีส่วนร่วมในการส่งเสียงผ่านการสำรวจของ ‘Business of the People Poll’ ร่วมออกแบบและขับเคลื่อนโดย สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในจัดทำการสำรวจผ่านตัวแทนผู้ประกอบการไทยจำนวน 451 ตัวอย่าง โดยมุ่งเน้นหัวข้อไปที่ ‘ปัจจัย, ความท้าทาย, โอกาส และคำแนะนำ ในการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต’ เพื่อที่จะทราบถึงความเข้าใจ ข้อเท็จจริง และแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากผู้ที่มีบทบาทจริงในภาคธุรกิจของประเทศไทย