fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ Dolce & Gabbana จับตู้เย็นมาเล่นกับศิลปะ
date : 20.เมษายน.2016 tag :

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-002-818x545

ดูเหมือนว่าตัวพ่อแฟชั่นแบรนด์หรู Dolce & Gabbana หยิบจับอะไรก็ดูจะเป็นกระแสฮือฮาไปเสียหมด ไม่ใช่แค่ปังบนรันเวย์เท่านั้น ล่าสุดในงาน Milan Design Week 2016 ที่จัดขึ้น ณ Metropol Theater แบรนด์สัญชาติอิตาเลียนอย่างดอลเช่ก็หันมาเล่นกับ ‘ตู้เย็น’ (!!) ด้วยการจับมือกับ Smeg แบรนด์ตู้เย็นยี่ห้อเก่าแก่คลาสสิกของอิตาลี จัดแสดงนิทรรศการกาลอลังการงานสร้าง ผลงานตู้เย็นรุ่น FAB28 ที่ขึ้นชื่อเรื่องดีไซน์เรโทรแสนจะนอสทัลเจียกว่า 100 ตู้ ออกแบบและลงมือวาดลวดลายงามๆ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากวัตถุดิบอันมั่งคั่งสมบูรณ์ของเกาะซิซิลี ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด งานศิลปะและสถาปัตยกรรมต่างๆ โดย 6 ศิลปินท้องถิ่นบนเกาะ ซึ่งทั้งหมดเป็นงานวาดมือล้วนๆ ถึงแม้จะเปลี่ยนจากผ้ามาเป็นตู้เย็น แต่ยังคงหมกมุ่นกับสีสันจัดจ้านและลวดลายอันวิจิตรพิสดารตามแบบฉบับเดียวกับเสื้อผ้าอาภรณ์ของ 2 ดีไซน์เนอร์คนดัง ชนิดมองปราดเดียวก็รู้ว่านี่แหละลายเซ็นของ Dolce & Gabbana เขาละ!

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-004-818x614

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-009-818x1022

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-007-818x600

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-010-818x614

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-015-818x1091

dolce-gabanna-smeg-frigorifero-d-arte-milan-design-week-2016-designboom-0161-818x544

RECOMMENDED CONTENT

14.ธันวาคม.2020

‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ  ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย