fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#RECAP — Diageo World Class Global Finals 2017 ค้นหาสุดยอดบาร์เทนเดอร์ระดับเวิร์ลคลาส และโลกใหม่ของค็อกเทลกำลังจะเริ่มต้น
date : 3.ตุลาคม.2017 tag :


.
Kaitlyn Stewart บาร์เทนเดอร์สาวจากแคนาดา คว้าตำแหน่ง World Class Bartender of the Year 2017 ของการแข่งขันบาร์เทนเดอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก Diageo World Class Global Finals 2017 ที่กรุงเม็กซิโก ซิตี้ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมสร้างประวัติศาสตร์เป็นบาร์เทนเดอร์สาวคนที่ 2 ที่คว้าตำแหน่งนี้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
.
Kaitlyn Stewart เป็นบาร์เทนเดอร์ที่ร้าน Royal Dinette ร้านอาหารดังในเมือง Vancouver ประเทศแคนาดา เป็นผู้ชนะเลิศคนที่ 9 ของ Diageo World Class Global Finals เธอคว้ารางวัลนี้ ต่อจาก Jennifer le Nechet สาวฝรั่งเศส เจ้าของรางวัลชนะเลิศปี 2016
.

.
“I entered because I said, why not?” 
บาร์เทนเดอร์สาวชาวแคนาดา กล่าวหลังจากที่รู้ว่าได้ตำแหน่งสำคัญในชีวิต ก่อนจะได้เป็นตัวแทนประเทศแคนาดา และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสุดยอดบาร์เทนเดอร์ของโลก เธอต้องเอาชนะบาร์เทนเดอร์ทั้งชายและหญิงเป็นพัน คน และคิดค้นค็อกเทลใหม่ๆ กว่าร้อยแก้ว
.

.
^ จำลองบรรยากาศเป็นเวทีมวยปล้ำ
ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมของชาวเม็กซิโก
.

.
^ บาร์เทนเดอร์สาวจากเจ้าภาพ (
MEXICO) พร้อมกับค็อกเทล Fatima Del Leon
.
ไฮไลต์ของปีนี้อยู่ในรอบ 10 คนสุดท้าย ที่จำลองบรรยากาศเป็นเวทีมวยปล้ำ ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมของชาวเม็กซิโกให้ร่วมสนุกสนานกัน และตั้งบาร์แข่งขันบนเวทีมวยปล้ำนั่นเอง มีบาร์เทนเดอร์สาวเข้ารอบมา 3 คน หนึ่งในนั้นคือเจ้าภาพซึ่งได้รับเสียงเชียร์จากคนดูมากมาย
.

.
หนึ่ง –รณภร
คณิวิชาภรณ์ บาร์เทนเดอร์ตัวแทนจากประเทศไทย แม้จะไม่เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย แต่ก็สร้างความประทับใจ โดยการนำ ‘รัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริที่แท้จริงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9′ ไปนำเสนอจนคนที่ได้ดูให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะหลาย คนทราบถึงการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9 นอกจากนั้นยังทำได้ดี ทั้งรสชาติของเครื่องดื่ม การตีโจทย์ และรูปแบบการนำเสนอที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว สร้างความประทับใจให้กับคนที่ได้ชมและชิม
.

.
ในฐานะที่เป็นผู้ชนะเลิศเวิลด์
คลาส ประเทศไทยและเข้าร่วมแข่งขันระดับโลก 2 ครั้งในปี 2014 และ 2017 รณภร คณิวิชาภรณ์ ได้ฝากสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากไว้กับบาร์เทนเดอร์รุ่นหลัง
.
สิ่งที่ผมอยากแนะนำมากคือ พยายามหาความรู้ใส่ตัวเยอะ ไม่ใช่แค่อ่านหนังสือหรืออินเตอร์เน็ตเท่านั้น สิ่งที่ผมอยากแนะนำคือ อย่าอยู่กับตัวเอง ควรออกไปดูโลกภายนอก ยอมลงทุนกับประสบการณ์ ไปลอง ไปเรียนรู้รสชาติจากที่ต่าง บาร์ ร้านอาหาร และสถานที่อื่น ที่เราไม่ได้ทำงานด้วย ลงทุนกับอะไรแบบนี้ และสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับตัวเราเอง ดีกว่าเอาเงินไปซื้ออุปกรณ์บาร์แฟนซีต่าง ที่สำคัญอย่าลืมความเป็นตัวของตัวเอง การเลียนแบบคนอื่นทำให้คุณเป็นได้แค่เพียงผู้ตาม
.
Diageo World Class Global Finals 2017 มีสิ่งที่บ่งบอกถึงแนวทางหรือเทรนด์ของค็อกเทลในอนาคตนี้อย่างน้อย 2-3 อย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่บาร์เทนเดอร์ไทย ต้องรีบศึกษาเรียนรู้และปรับตัว อย่างน้อยชาติเพื่อนบ้านร่วมทวีปของเราเขาปรับตัวกันแน่นอน
.

.
^ Duui Hong บาร์เทนเดอร์จากเกาหลี

.

.
อย่างแรก
  ‘Cocktail & Food’ หรือค็อกเทลกับอาหาร เป็นเรื่องที่บาร์เทนเดอร์ของเราจะต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ได้ ที่แน่ บาร์เทนเดอร์จะต้องเรียนรู้เรื่อง Food Science และต้องเข้าใจถึงศาสตร์แห่งรสชาติให้มากขึ้น
.
พรเศก
ภาคสุวรรณ Reserve Channel Director : Diageo Moet Hennessy (Thailand) Ltd. ให้ความเห็นว่าผมว่าเทรนด์ของค็อกเทลในอนาคตน่าจะเกี่ยวกับอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำส่วนผสมหรือเครื่องปรุงของการทำอาหาร การปรุงอาหาร การใช้ความร้อนและเทคนิคในการดึงรสชาติ หรือแม้กระทั่งการนำเอาอาหารที่มีอยู่ในบ้านมาปรับใช้กับเครื่องดื่ม เพื่อให้เกิด Drink ใหม่ๆ ในอนาคตเราอาจเห็นบาร์ที่มีทั้งเครื่องทำน้ำแข็ง และเตาแก๊ส อยู่ข้าง กันก็ได้
.
เจนญ์ณรงค์
  ภูมิจิตร Senior Brand Ambassador : Diageo Moet Hennessy (Thailand) Ltd. กล่าวหลังการแข่งขันว่าสิ่งที่เราต้องเพิ่มเติมคือความรู้ที่เป็นเรื่องราวของ Food & Drink Science มากขึ้น เพราะเห็นจากโจทย์ในปีนี้แล้ว Gastronomy Technique เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ 
.
อย่างที่สอง
 ‘Cocktail @ Home’ เป็นรูปแบบของการทำค็อกเทลอยู่ที่บ้าน ด้วยการหยิบของที่อยู่ในครัวหรือในบ้าน อาจจะเป็นพืช ผัก สมุนไพร ฯลฯ มาทำค็อกเทลสำหรับเพื่อนฝูงหรืองานปาร์ตี้ โดยใช้วอดก้าเป็นเหล้าตัวหลัก เนื่องจากเป็นเหล้าที่หาง่าย ราคาไม่แพง และทุกบ้านน่าจะมีติดอยู่ ที่สำคัญวอดก้าช่วยส่งเสริมกลิ่นและรสชาติของค็อกเทลได้โดดเด่นกว่าเหล้าอื่น
.
อย่างที่สาม
Sustainability เป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการบาร์เทนเดอร์เมืองไทย แต่ระดับโลกเริ่มให้ความสำคัญแล้ว โดยเจนญ์ณรงค์ ภูมิจิตร ซึ่งคลุกคลีอยู่กับแคมเปญ Diageo World Class ตั้งแต่แรกมองว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะเริ่มในประเทศไทย อาจไม่ต้องเริ่มใหญ่ อาจลองเริ่มที่บาร์ของคุณเพียงแค่ลองไม่ใช้หลอดในการชิมเครื่องดื่ม แต่มาหาช้อนมาใช้ในการชิม เพื่อสามารถล้างแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือแม้กระทั่งการตรวจสอบขอบยางตู้เย็น หากเก่าหรือมีรอยรั่วก็ควรเปลี่ยน ไขก๊อกน้ำที่ปิดได้ไม่สนิท เรื่องเล็กน้อยแค่นี้มันก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งแล้ว
.
นั่นคือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ
Diageo World Class Global Finals 2017 ที่เม็กซิโก ส่วนปีหน้า 2018 กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จะเป็นเจ้าภาพ เราจะนำภาพบรรยากาศ และเทรนด์ใหม่ๆ ของค็อกเทลโลกมาฝากกันแน่นอน
.

.
One cocktail could change your life, so why not? I went with that.” 
แคทลีน สจ๊วร์ต กล่าวหลังจากรับตำแหน่ง World Class Bartender of the Year 2017
.
ค็อกเทล 1 แก้ว สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้…”
.
สั่งค็อกเทล
และพูดคุยกับพวกเขา ท่านอาจจะเป็นหนึ่งคนที่ได้ชื่อว่าเปลี่ยนชีวิตของบาร์เทนเดอร์ไทยสักคนก็เป็นได้!
.

.
^ ค็อกเทลของ Kaitlyn Stewart
.
___________
.
Diageo World Class เป็นแคมเปญระดับโลกที่สานต่อเป็นปีที่ 9 เริ่มครั้งแรกในปี 2009 เพื่อค้นหาสุดยอดบาร์เทนเดอร์ผู้เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ในการรังสรรค์เครื่องดื่มชั้นเลิศ ปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมในโปรแกรมนี้กว่า 300,000 คนทั่วโลก ขณะที่ Diageo World Class Global Finals 2017 ที่เม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีบาร์เทนเดอร์ 55 คนจากทั่วโลกร่วมการแข่งขัน
.
ในประเทศไทยสนับสนุนโดยบริษัท ดิอาจีโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี (ประเทศไทย) จำกัด (Diageo Moet Hennessy (Thailand) Ltd.) เข้าร่วมแคมเปญนี้ตั้งแต่ปี 2011 ในเบื้องต้นเพื่อมอบความรู้ และสร้างเสริมทักษะประสบการณ์ให้กับผู้เข้าแข่งขัน เป้าหมายสุดท้ายคือยกระดับวงการบาร์เทนเดอร์ไทยให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลอย่างเต็มตัว เพราะฝีมือของบาร์เทนเดอร์ไทยไม่เป็นรองชาติใดในโลก ฯลฯ ที่ผ่านมาก็มีบาร์เทนเดอร์ไทยไปแสดงฝีมือระดับโลกแล้วหลายคน
.
.

RECOMMENDED CONTENT

30.พฤษภาคม.2019

ย้อนรอยสู่จุดกำเนิดแห่งดนตรีเทคโนกับผลงาน Black to Techno โดยผู้กำกับฯ หญิงชาวอังกฤษ - ไนจีเรียน Jenn Nkiru ผู้จะพาเราไปสัมผัสวัฒนธรรมดนตรีเทคโนจากจุดกำเนิดที่เมืองดีทรอยท์ สหรัฐอเมริกา จากดนตรีกระแสรองสู่ความนิยมสุดขีดช่วงปลายยุค 1980s นำไปสู่ดนตรีที่สะท้อนต่อสู้เพื่อบทบาทในสังคมและเสรีภาพของกลุ่มคนผิวสีในดีทรอยท์