fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#BigMoney | 4 นิสัยสู่ความสำเร็จสไตล์เจ้าพ่อ ‘แจ็ค หม่า’
date : 6.สิงหาคม.2018 tag :

วันนี้ Big Money จะมาบอกเล่าแนวคิดของ แจ็ค หม่า เจ้าพ่ออาลีบาบา ที่ได้ข่าวว่าฮอตเกิ๊น !! ข่าวคราวที่แชร์กันทั่วบ้านทั่วฟ้าเมืองไทย เห็นได้จากหลายสื่อ บล็อกเกอร์ เหล่ากูรูอีคอมเมิร์ซ และชาวเน็ตแชร์ข่าวกันกระหน่ำและออกมาฟันธงอนาคตเกี่ยวกับการมาบุกตลาดในเมืองไทยแบบหลากหลายความคิดเห็น ซึ่งมีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการที่แจ็คได้รับการยกเว้นภาษีจากภาครัฐ

ทว่าการมาของแจ็ค หม่า นักธุรกิจวัย 53 ปี จะส่งผลต่อเมืองไทยอย่างไร ? งานนี้ผู้เขียนคงไม่ขอฟันธงใด ๆ แต่อยากแนะนำว่า ผู้ประกอบการไทยต้องรอดูสถานการณ์กันต่อไป พร้อมกับมองหาหนทางสร้างเม็ดเงินเติมรายได้ให้กับธุรกิจ เช่น การส่งสินค้าโกอินเตอร์ไปเมืองจีน และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นี้ให้จงได้ !!

เช่นเดียวกับทฤษฎีของชาร์ล ดาวินว่า “สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีกว่าและแข็งแกร่งกว่าเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้” จงอย่าเพิ่งย่อท้อ และหาทางต่อสู้ให้ได้ !!

เพื่อศึกษาความเป็นแจ็ค หม่า เจ้าของทรัพย์สินกว่า 43.1 พันล้านดอลลาร์ให้ถ่องแท้ เรามาถอดรหัสการบริหารและแนวคิดของผู้ชายคนนี้กันดีกว่าว่า ชายคนนี้มีบุคลิกการทำงานเป็นอย่างไร ? ถึงทำให้เขาโดดเด่นในสายอาชีพได้มากถึงเพียงนี้

แจ็ค หม่า ไม่ยอมแพ้

จากครูสอนภาษาอังกฤษ สู่ผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซระดับโลก เรามักจะอ่านเจอประวัติของผู้ชายคนนี้บ่อยครั้งว่า แจ็ค หม่า ถูกปฏิเสธงานหลายครั้ง และเคยล้มเหลวก่อนที่จะประสบความสำเร็จมาเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของ อาลีบาบากรุ๊ปเช่นวันนี้ เรามักจะเห็นว่าสไตล์การบริหารงานของเจ้าพ่อจากแดนมังกรเลือกทุ่มเทบริหารงาน พร้อมกับทำทุกสิ่งให้เป็นจริงแบบไม่ยอมแพ้

เห็นได้จากคำกล่าวที่ว่า “Never give up. Today is hard, tomorrow will be worse, but the day after tomorrow will be sunshine.” จงอย่ายอมแพ้ แม้วันนี้จะเลวร้าย แต่วันพรุ่งนี้ย่อมสดใสเสมอ ซึ่งน่านำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานของแต่ละคนได้

แจ็ค หม่า ไม่เคยหยุดเรียนรู้

สิ่งที่น่าลอกเลียนแบบจากแจ็ค นักธุรกิจพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้เขาจะเป็นเจ้าของธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซเป็นผู้ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ไซส์บึ้ม แต่เขาบอกว่า “I know nothing about technology.” ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเทคโนโลยี ทั้งที่ครอบครองอันดับ 7 ผู้ที่ร่ำรวยด้านเทคโนโลยีระดับโลกในปี 2017 จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บ

นั่นทำให้เขาไม่หยุดพัฒนาตัวเอง และพัฒนาองค์กรอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับทำธุรกิจด้วยความเปิดใจ
ซึ่งความพยายามเช่นนี้ทำให้เขาทำผลประกอบการได้ดีชนิดที่ eBay ต้องยอมถอยทัพออกจากตลาดจีนในปี 2549

ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า แม้จะทำงานในสายงานที่ตัวเองชอบและถนัด แต่ก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงการทำงานของตัวเอง

แจ็ค หม่า ต้องการเสริมสร้างศักยภาพคนรุ่นใหม่

นอกจากพัฒนาสิ่งใหม่ แจ็ค หม่า บอกว่า “I do not want people to have deep pockets but shallow minds.”  ผมไม่ต้องการเห็นผู้คนที่มีกระเป๋าเงินหนาขึ้น แต่มีจิตใจที่ตื้นเขิน

ด้วยอุดมการณ์ของเศรษฐีใจบุญ แจ็ค หม่า ที่ต้องการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เขาเปิดเผยในปี 2015 กับอดีตประธานาธิบดีโอบามาว่า “ผมใช้เงินรายได้ราว 0.3% เพื่อพัฒนาเยาวชน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2010”

ล่าสุด เขามีวิทยาลัยอาลีบาบา หรือ Alibaba Business School (ABS) ซึ่งเป็นศูนย์อบรมให้ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซกับกับบุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษา นับว่าเป็นผู้สร้างและให้โอกาสผู้อื่นด้วยนั่นเอง

แจ็ค หม่า มีความเป็นผู้นำ และมีทัศนคติที่ดีเยี่ยม

เพราะการเป็นผู้บริหารที่ดีไม่ได้มีเพียงแค่ความเก่งกาจเท่านั้น ยังต้องมีความเป็นผู้นำแบบ Global Intelligence (GQ) บุคลิกอ่อนโยน มีมุมมองที่ดีในการใช้ชีวิต สามารถปรับตัวเข้ากับชุมชน และสร้างความร่วมมือในระดับภาพรวมได้เป็นอย่างดี

เห็นได้จากการร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่แจ็คเลือกเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ช่างสมกับฉายาที่ว่า Crazy Jack จริงเชียว และมองทุกคนอย่างเป็นมิตร เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจก้าวถึงเส้นชัยอย่างยั่งยืน นี่จึงเป็นอีกนิสัยแห่งความสำเร็จของแจ็ค ที่น่านำมาใช้ในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง หากนำไปใช้แล้วเวิร์ค หรือได้รับผลตอบรับอย่างไร อย่าลืมมาแชร์ให้กันฟังนะ

_______________________

ติดตามข่าวธุรกิจ การเงิน เพิ่มเติมได้ที่ : http://bigmoneymag.com/

RECOMMENDED CONTENT

12.ตุลาคม.2022

เปิดตัวแล้วกับคอลเล็คชั่น OBEGRÄNSAD/ อูเบแกรนซัด ผลงานการร่วมออกแบบระหว่างอิเกียและ Swedish House Mafia วงดนตรีอิเล็กทรอนิกชื่อดังสัญชาติสวีเดน พร้อมให้คุณสร้างสรรค์ผลงานที่บ้านอย่างไร้ขีดจำกัดตามแรงบันดาลใจของการออกแบบคอลเล็คชั่นนี้ โดยคำว่า OBEGRÄNSAD/ อูเบแกรนซัด ซึ่งเป็นภาษาสวีเดนมีความหมายว่า “ไร้ขีดจำกัด”