fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

4 ขั้นตอนสู่การปั้นสตาร์ทอัพให้ ‘รอด’ และ ‘รุ่ง’ “Think Micro, Grow Bigger” ปลูกไอเดียเล็กๆ ให้เป็นรากฐานความสำเร็จของสตาร์ทอัพ
date : 23.กรกฎาคม.2015 tag :

Think Micro, Grow Bigger dooddot 1

ช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการเติบโตของสตาร์ทอัพจากสเกลเล็กไปบุกตลาดกระแสหลักดังเช่น Uber ตื่นเต้นกับความสำเร็จติดไฮ-สปีดของ Airbnb ที่ปรุงแต่งรสชาติใหม่ของการเดินทางด้วยการเปลี่ยน ‘บ้าน’ ของคนทั่วโลกให้กลายเป็น ‘ที่พัก’ สำหรับนักท่องเที่ยวและดึงดูดนักลงทุนได้มหาศาล ยังไม่รวมบรรดา Co-Working Space และ Tech Start-up ที่ทยอยผุดขึ้นตามย่านสุดฮิปในเมือง

เมื่อย้อนรอยกลับไปหาต้นทางของความสำเร็จ เราสังเกตว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้ล้วนเติบโตมาจากไอเดียดีๆ ที่ไม่ไกลจากสิ่งรอบตัว บางไอเดียดูเรียบง่าย แต่กลับนำเสนอ ‘แง่มุมที่แตกต่าง’ ซึ่งยังไม่มีในตลาดและตรงกับ ‘ความต้องการ (need)’ ของผู้ซื้อพอดิบพอดี แต่ใช่ว่าทุกไอเดียจะสามารถพัฒนาให้เป็นจริงได้ในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงผลกำไรและความยั่งยืนไปพร้อมกัน

Think Micro, Grow Bigger dooddot 3

4 ขั้นตอนสู่การปั้นสตาร์ทอัพให้ ‘รอด’ และ ‘รุ่ง’

จริงอยู่ที่ว่าวันนี้ เรามีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดกว้างสำหรับการทำธุรกิจไร้พรมแดนตลอด 24 ชั่วโมง มีแหล่งทุนแบบ Crowdfunding ซึ่งไม่ต้องพึ่งการกู้ยืมเหมือนสมัยก่อน แต่การเปลี่ยนไอเดียให้เป็นสินค้าที่โดนใจตลาดและประคองธุรกิจให้อยู่รอดตลอดฝั่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การศึกษาวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพจึงน่าจะเป็นไกด์นำทางที่ดีสำหรับเหล่าสตาร์ทอัพหน้าใหม่เช่นกัน

1. เปลี่ยนแรงบันดาลใจรอบตัวให้เป็นไอเดียสุดเจ๋ง (Inspiration)

ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ลองสังเกตปัญหาใกล้ตัวหรือเรื่องราวที่ตัวเองสนใจก่อน โดยมีข้อแม้ว่า คุณจะต้องตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านั้น ปรับเปลี่ยนมุมมอง วิธีคิด และพยายามเก็บข้อมูลให้มีความหลากหลาย ทั้งเคสที่ประสบความสำเร็จและเคสที่มีปัญหา แต่ทางที่ดีที่สุด เราแนะนำให้คุณออกไปพูดคุย สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย (target users) ด้วยตัวเอง เพราะจะได้ข้อมูลสดใหม่กว่าและเข้าใจผู้ใช้งานมากขึ้น

Think Micro, Grow Bigger dooddot 2

2. ไอเดียจะเวิร์คจริงก็ต่อเมื่อตกตะกอนแล้ว (Ideation)

นำข้อมูลทั้งหมดจากการค้นคว้าและสัมภาษณ์มากลั่นกรองใหม่ อาจเริ่มจากการตั้งคำถามว่า “เราจะสามารถ…ได้อย่างไร (How may we…?)” เพื่อหาไอเดียที่ใช่ที่สุด เช่น เราจะสามารถผลิตอาหารเพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยสำหรับคนเมืองที่อยากดูแลสุขภาพ แต่ไม่มีเวลาได้อย่างไร เมื่อได้ประเด็นที่น่าสนใจแล้ว ลองตัดไอเดียด้วยการเรียงลำดับความสำคัญ (prioritize) เปรียบเทียบว่าไอเดียไหนใช้เวลาทำน้อย แต่สร้างอิมแพคได้มากกว่ากัน และสุดท้ายไม่แต่ท้ายสุด คัดให้เหลือเพียง 3 ไอเดียที่คิดว่าดีที่สุด แล้วทำสเก็ตช์ภาพและสตอรี่บอร์ดเพื่ออธิบาย Consumer’s Journey Map ว่าลูกค้าจะซื้อและใช้สินค้า/บริการที่ออกแบบได้อย่างไรบ้าง

3. ลงมือทำเลย! (Implementation)

ลำพังแค่ไอเดียบนหน้ากระดาษ คงไม่สามารถตัดสินได้ว่าโปรเจ็กต์นั้นจะทำได้จริงหรือเปล่า ถ้าผลิตออกมาแล้วจะถูกใจคนซื้อไหม เราแนะนำให้คุณสร้างโมเดลต้นแบบ (Prototype) ขึ้นมาเลย จะช่วยให้ไอเดียที่เป็นนามธรรม จับต้องได้มากขึ้น อ๋อ แล้วอย่าลืมทดสอบการใช้งาน (Usability Test) ด้วยล่ะ ยิ่งถ้าคุณเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมในการทดลองบ่อยมากเท่าไร คุณก็ยิ่งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของการใช้งานและนำฟีดแบ็คไปปรับปรุงเพิ่มเติมได้มากเท่านั้น

Google CEO Larry Page holds a press annoucement at Google headquarters in New York on May 21, 2012. Google announced that it will allocate 22,000 square feet of its New York headquarters to CornellNYC Tech university, free of charge for five years and six month or until the university completes its campus in New York.     AFP PHOTO/Emmanuel Dunand        (Photo credit should read EMMANUEL DUNAND/AFP/GettyImages)

4. สร้างดีเอ็นเอของทีมงาน

  • คิดต่าง
  • สนใจเทรนด์ แต่ไม่จำเป็นต้องก้าวตามทุกอย่าง
  • คิดและทำซ้ำเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ไอเดียที่มีศักยภาพมากที่สุด
  • ทำงานบนพื้นฐานของความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้งานโดยไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวหรือตัดสินแทนคนอื่น (Empathy)
  • รักษาคุณภาพของการทำงาน หมั่นเติมพลังและแพสชั่นของตัวเองอยู่เสมอ

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการคิดและกระบวนการทำงานที่ผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ควรมองข้าม เพราะในตลาดการแข่งขันยุคใหม่ ผู้ชนะไม่ใช่คนที่เป็นเจ้าของไอเดียที่ ‘WOW’ ที่สุด แต่เป็นไอเดียที่แข็งแรงมากพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ออกแบบประสบการณ์ใหม่ และพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา

Writer: Piyaporn Aroonkriengkrai
Credit: ideo.com

RECOMMENDED CONTENT

2.ธันวาคม.2020

ถือเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ยังคงเดินหน้าทำผลงานเพลงใหม่ ๆ ให้แฟน ๆ ฟังไม่ขาดสาย สำหรับศิลปินมากความสามารถอย่าง “เป้ อารักษ์” (Pae Arak) หรือ “เป้ - อารักษ์ อมรศุภศิริ” สังกัดค่ายเพลง What The Duck (วอท เดอะ ดัก) หลังจากปล่อย 2 เพลงโดนใจจาก EP Album ชุดใหม่ล่าสุด